Page 176 - b30427_Fulltext
P. 176
กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย: กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย
อีกคดีซึ่งได้รับความสนใจจากสังคมอย่างมากคือ กรณีจับกุม
และสั่งฟ้องขบวนการล้มบอลไทยลีก ช่วงปี 2561 - 2562 ซึ่งก็มีทั้งที่เป็นกรรมการ
ผู้ตัดสิน ผู้กำกับเส้น นายทุนนักพนัน และนักฟุตบอลได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง
172
รวมแล้วร่วม 20 ราย ทว่าคดียังคงอยู่ในชั้นพิจารณาของศาล
(3.2) การระงับข้อพิพาทในคดีแพ่ง
กระบวนการระงับข้อพิพาททางด้านกีฬาที่ผ่านมาเต็มไปด้วย
ข้อถกเถียง ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เป็นความขัดแย้งระหว่างผู้ประกอบธุรกิจ
ด้านกีฬากับนักกีฬาอาชีพอันมีที่มาจากปัญหาการผิดสัญญา ตลอดจนการละเมิด
ในขณะที่ขั้นตอนการพิจารณาคดีของศาลยุติธรรมใช้ระยะเวลายาวนาน ไม่ทันต่อ
สถานการณ์การแข่งขันที่กำหนดเป็นฤดูกาลต่อเนื่องกัน ทำให้นักกีฬาเสียโอกาส 173
ในทางวิชาการ แม้มีผู้เสนอว่าสัญญาจ้างนักกีฬา (โดยเฉพาะ
กรณีนักฟุตบอล) เป็นสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งนักกีฬาพึงได้รับสิทธิต่าง ๆ ตาม
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และถือเป็นคดีแรงงานในอำนาจ
การพิจารณาของศาลแรงงาน อิงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณา
174
คดีแรงงาน พ.ศ. 2522 แต่ในทางปฏิบัติ แทบไม่มีคดีพิพาทเกี่ยวกับการนี้ขึ้นสู่
ชั้นพิจารณาของศาลแรงงาน เนื่องด้วยมาจากอุปสรรคหลายประการ โดยเฉพาะ
175
อย่างยิ่งการไม่ยอมรับความเป็นนายจ้างของสโมสรกีฬาที่มีภาระตามกฎหมายแรงงาน 176
172 พ.ร.บ.ส่งเสริมกีฬาอาชีพ พ.ศ. 2556 มาตรา 64 บัญญัติว่า “ผู้ใดให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้
ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่นักกีฬาอาชีพหรือผู้อื่น เพื่อจูงใจให้นักกีฬาอาชีพกระทำการล้มกีฬา ต้อง
ระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” และมาตรา 65
บัญญัติว่า “ผู้ใดเรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นเพื่อให้มีการ
กระทำการล้มกีฬา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงห้าแสนบาท หรือทั้งจำ
ทั้งปรับ”
173 เบญจวรรณ ธรรมรัตน์, “การพัฒนากฎหมายกำกับดูแลและส่งเสริมกีฬาอาชีพ,” (ดุษฎีนิพนธ์
นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2559): 6.
174 ดู สุนาฏ หาญเพียรพงศ์, “กฎหมายคุ้มครองนักกีฬาอาชีพ,” (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,
สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2559).
175 แต่ก็พอปรากฏเป็นข่าวว่านักฟุตบอลของบางทีมได้ฟ้องเรียกค่าจ้างต่อศาลแรงงาน และเอาชนะ
คดีสโมสรอยู่บ้าง ช่วงปี 2556-2558 ได้แก่ สโมสรอุดรธานี เอฟซี และสโมสรร้อยเอ็ด ยูไนเต็ด อ้างใน
เบญจวรรณ ธรรมรัตน์, “การพัฒนากฎหมายกำกับดูแลและส่งเสริมกีฬาอาชีพ,” 273.
176 สุนาฏ หาญเพียรพงศ์, “กฎหมายคุ้มครองนักกีฬาอาชีพ,” 89.
1
สถาบันพระปกเกล้า