Page 181 - b30427_Fulltext
P. 181

กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:                                                         กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
                             ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย                            ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย


           (Olympic Games) และการแข่งขันกีฬาระดับเอเชียนเกม (Asian Games) ซึ่งวิธีการ
           อนุญาโตตุลาการเฉพาะกิจนี้องค์กรกำกับกีฬาและคู่กรณีจะตกลงเลือกและแต่งตั้ง

           บุคคลหรือองค์กรอนุญาโตตุลาการให้มาทำหน้าที่เป็นอนุญาโตตุลาการเฉพาะกิจ ทั้งนี้
           องค์กรกำกับกีฬาที่เป็นผู้จัดกิจกรรมการแข่งขันกีฬาขนาดใหญ่มักจัดให้มีระเบียบว่า
           ด้วยกระบวนการอนุญาโตตุลาการเฉพาะกิจ (Ad Hoc Arbitration Rules)

           อันมีสาระสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการอนุญาโตตุลาการเฉพาะกิจ เช่น การยื่นคำเสนอ
           ข้อพิพาท การยื่นคำคัดค้าน การแต่งตั้งผู้ช่วยเหลือในการดำเนินกระบวนการ
           อนุญาโตตุลาการเฉพาะกิจ การดำเนินกระบวนการอนุญาโตตุลาการเฉพาะกิจ

           กระบวนการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการเฉพาะกิจและผลของคำวินิจฉัย
           ชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเฉพาะกิจ เป็นต้น

                         อนุญาโตตุลาการแบบสถาบัน (institutional arbitration)

           ได้แก่ องค์กรระงับข้อพิพาทที่ถูกจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในรูปแบบของสถาบัน
           อนุญาโตตุลาการทางกีฬา (sports arbitration institution) อาจเป็นการจัดตั้งสถาบัน
           ในรูปแบบขององค์กรเอกชนหรือองค์กรของรัฐ หรืออาจเป็นนิติบุคคลต่างหาก

           ตามกฎหมายจัดตั้งสถาบันอนุญาโตตุลาการของแต่ละประเทศ ตัวอย่างเช่น
           ศาลอนุญาโตตุลาการทางกีฬา (Court of Arbitration for Sport หรือ CAS)
           สถาบันระงับข้อพิพาททางกีฬาแห่งสหราชอาณาจักร (UK Sport Resolutions) และ

           องค์กรอนุญาโตตุลาการทางกีฬาญี่ปุ่น (Japan Sports Arbitration Agency หรือ
           JSAA) ซึ่งองค์กรกำกับกีฬาในแต่ละชนิดกีฬาหรือองค์กรกำกับกีฬาที่จัดกิจกรรมการ
           แข่งขันกีฬาอาจตัดสินใจเลือกใช้บริการสถาบันอนุญาโตตุลาการทางกีฬาสถาบันหนึ่ง

           สถาบันใดหรือตัดสินใจกำหนดระเบียบข้อบังคับของตนเพื่อผูกพันให้สมาชิกที่มี
           ข้อพิพาทกับตน ต้องนำข้อพิพาทที่เกิดขึ้นมาให้สถาบันอนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาด
           ข้อพิพาทและทั้งองค์กรกำกับกีฬา และคู่พิพาทก็ยินยอมพร้อมใจและตกลงที่จะปฏิบัติ

           ตามคำวินิจฉัยชี้ขาดของสถาบันอนุญาโตตุลาการนั้น โดยทั่วไปหากเป็นกรณีพิพาท
           อันเนื่องมาจากคำสั่งลงโทษสมาชิกขององค์กรกำกับกีฬา หรือคำสั่งทางวินัยนักกีฬา
           อย่างหนึ่งอย่างใด อันมีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
           ในแวดวงกีฬา ในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อ

           สถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของสโมสรกีฬาหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬา
           เช่นนี้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เป็นคู่พิพาทกับองค์กรกำกับกีฬาอาจใช้สิทธิยื่นคำอุทธรณ์ต่อ

           คณะกรรมการภายในองค์กรกำกับกีฬาเสียก่อน เพื่อพิจารณาส่งเรื่องให้คณะกรรมการ


                                             1 0
                                          สถาบันพระปกเกล้า
   176   177   178   179   180   181   182   183   184   185   186