Page 178 - b30427_Fulltext
P. 178

กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:    กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
 ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย     ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย


           ที่ดำเนินกิจการด้านกีฬาชนิดนั้น ๆ แทน กกท. ย่อมเป็นหน่วยงานของรัฐด้วยเช่น
           เดียวกัน เมื่อเกิดกรณีพิพาทกับองค์กรดังกล่าวเหล่านี้เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ คดีต้อง

           ขึ้นสู่ศาลปกครองเท่านั้น 180

                         คดีจำนวนมากไม่พ้นเรื่องของการถูกลงโทษอันเนื่องมาจาก
           ถูกกล่าวว่ากระทำผิดกฎกติกาในการแข่งขันกีฬาอาชีพแต่ละชนิด หรือฝ่าฝืนต่อ

           ระเบียบข้อบังคับของสมาคมในเรื่องอื่น ซึ่งนักกีฬาหรือสโมสรย่อมได้รับความเสียหาย
           จากคำสั่งลงโทษ เช่น ปรับเงิน ปรับแพ้ ห้ามลงทำการแข่งขัน ฯลฯ เพราะเป็นโทษ
           ที่ร้ายแรง จึงส่งผลให้มีการยื่นฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อให้วินิจฉัยเพิกถอนคำสั่งลงโทษ

           หลายคดี เช่นเมื่อปี พ.ศ. 2558 ได้มีเหตุการณ์สำคัญซึ่งส่งผลต่อการตกชั้นของ
           หลายทีม ในเกมระหว่างสโมสรบีอีซีเทโรศาสนกับสโมสรแบงค็อก ยูไนเต็ด
           เกิดประเด็นว่าทีมแบงค็อกเปลี่ยนตัวนักเตะต่างชาติเกินโควตาหรือไม่ ซึ่งในชั้นแรก

           มีคำตัดสินให้ยึดตามผลการแข่งขันเดิมที่ทีมเทโรเป็นฝ่ายแพ้ 0-1 แต่ต่อมามีคำสั่ง
           เปลี่ยนผลการแข่งขันให้แบงค็อกแพ้ 0-3 ก่อนที่แบงค็อกจะอุทธรณ์ผ่าน และกลับมา
           ยืนยันให้แบงค็อกชนะ 1-0 ในที่สุด เป็นเหตุให้เกิดความพยายามจะฟ้องร้องสมาคม

           กีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย และบริษัท ไทยพรีเมียร์ลีก จำกัด ต่อศาลปกครองกลาง
           โดยสโมสรบีอีซี เทโรศาสน 181

                         คดีความอีกจำนวนหนึ่งเป็นประเด็นปัญหาเรื่องการจัดตั้งสมาคม

           กีฬาบางชนิดในจังหวัดต่าง ๆ ซึ่งทาง กกท.ไม่อนุญาตให้จัดตั้งขึ้น  เรียกแบบเป็น
                                                                     182
           ทางการได้ว่าคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วย
           กฎหมาย คดีสำคัญได้แก่ คดีปกครองหมายเลขดำที่ อ.280/2550 คดีหมายเลขแดง

           ที่ อ.99/2553 ระหว่างสมาคมมวยไทยแห่งประเทศไทย ผู้ฟ้องคดีกับการกีฬา


                 180  ตอกย้ำด้วยความเห็นของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่มีความเห็นว่า
           สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยเป็นสมาคมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้รับมอบอำนาจ
           ทางปกครองจากการกีฬาแห่งประเทศไทย จึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง อ้างใน ปองภพ นิลนพรัตน์,
           “ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการลงโทษสโมสรฟุตบอลโดยสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย,”
           (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขานิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2560): 137.
                 181  “‘เทโร’ ฟ้องศาลปกครอง ขอสู้ถึง ‘ฟีฟ่า-ศาลโลก’,” กรุงเทพธุรกิจ, 28 พฤศจิกายน 2558,
           สืบค้นเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2564, https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/676346.
                 182   นัยนา พรประดับ, “การศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับขั้นตอนการจัดตั้งสมาคมกีฬาของการกีฬา
           แห่งประเทศไทย,” (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, 2554):
           30-32.


                                              1
                                          สถาบันพระปกเกล้า
   173   174   175   176   177   178   179   180   181   182   183