Page 174 - b30427_Fulltext
P. 174

กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:    กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
 ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย     ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย


                 ได้กระทำความผิดตามกฎหมายในมาตรา 23 ซึ่งกำหนดข้อห้ามอันเกี่ยวกับ
           การใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา เช่น การใช้สารต้องห้ามกับนักกีฬา การซื้อ ขาย

           แลกเปลี่ยน ให้ ขนส่ง หรือครอบครองสารต้องห้ามสำหรับนักกีฬา การจูงใจ ชักนำ
           ยุยง แนะนำ ส่งเสริม สนับสนุน ให้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ให้นักกีฬาใช้สารต้องห้าม
           การยักย้าย ทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย ทำให้สูญหาย หรือทำให้

           ไร้ประโยชน์ซึ่งสารต้องห้าม เอกสาร หรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

                             การกระทำความผิดของนักกีฬาและบุคคลซึ่งสนับสนุน
           การกีฬาดังกล่าว เมื่อได้รับคำสั่งลงโทษของการกีฬาแห่งประเทศไทยแล้ว ไม่พอใจ

           คำสั่งลงโทษนั้น ในมาตรา 27 ได้ให้สิทธิแก่นักกีฬาและบุคคลซึ่งสนับสนุนการกีฬา
           ดังกล่าว มีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือ ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ได้ภายใน 15 วัน
           นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง และคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณาและ

           วินิจฉัยคำสั่งลงโทษของการกีฬาแห่งประเทศไทย โดยต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน
           30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสืออุทธรณ์ และมีหน้าที่แจ้งคำวินิจฉัยเป็นหนังสือ
           ลงทะเบียนตอบรับให้นักกีฬาหรือบุคคลซึ่งสนับสนุน ผู้อุทธรณ์ทราบ คำวินิจฉัย

           ดังกล่าวกฎหมายกำหนดให้เป็นที่สุด

                             สำหรับองค์ประกอบของคณะกรรมการวินิจฉัยประกอบด้วย
           ประธานกรรมการและกรรมการอื่นมีจำนวนรวมกันไม่น้อยกว่า 5 คน และไม่เกิน

           7 คน ซึ่งคณะกรรมการควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬาแต่งตั้งขึ้นจากผู้มี
           ความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านการแพทย์ ด้านกฎหมาย และด้านกีฬา อย่างน้อย
           ด้านละ 1 คน โดยมีสำนักงานควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา สังกัดการกีฬา

           แห่งประเทศไทย รับผิดชอบด้านงานธุรการ

                      (3)  การระงับข้อพิพาทในระดับศาล

                         หากใช้ประเภทของคดีเป็นตัวแบ่ง เราสามารถแบ่งการระงับ

           ข้อพิพาทโดยอาศัยกระบวนการยุติธรรมของรัฐซึ่งก็คือ ‘ศาล’ ออกได้อย่างน้อย ๆ
           3 รูปแบบ ได้แก่ 3.1 การระงับข้อพิพาทในคดีอาญา 3.2 การระงับข้อพิพาท
           ในคดีแพ่ง และ 3.3 การระงับข้อพิพาทในคดีปกครอง









                                              1
                                          สถาบันพระปกเกล้า
   169   170   171   172   173   174   175   176   177   178   179