Page 177 - b30427_Fulltext
P. 177
กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย: กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย
จากคำพิพากษาที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำพิพากษาฎีกา
ที่ 9202/2559 สัญญาจ้างนักกีฬามิใช่สัญญาจ้างแรงงาน หากแต่เป็นสัญญาในทาง
แพ่งประเภทหนึ่ง เนื่องจากมิใช่สัญญาที่ความสัมพันธ์ของนายจ้างอยู่ในลักษณะที่มี
อำนาจบังคับบัญชาเหนือลูกจ้างอันถือได้ว่าเป็นลักษณะสำคัญของสัญญาจ้างแรงงาน
ขณะที่นักกีฬาค่อนข้างมีอิสระในการฝึกซ้อม แข่งขัน ตลอดจนการปฏิบัติตามคำสั่ง
ของผู้ฝึกสอน เจ้าหน้าที่ทีม หรือผู้บริหารทีม โดยมุ่งประสงค์ต่อความสำเร็จของงาน
177
ที่รับจ้าง ซึ่งก็คือผลการแข่งขัน เกี่ยวกับเรื่องนี้ศาลยึดเอาหลักเจตนาที่คู่สัญญา
ตกลงกันเป็นสำคัญ แนววินิจฉัยนี้ถูกใช้เป็นบรรทัดฐานต่อมา
178
สำหรับคดีละเมิดนั้น เคยมีคดีที่ พ.ต.ท.ประสงค์ พันธ์สวัสดิ์
นักฟุตบอลสโมสรฟุตบอลจันทบุรี เอฟซี ฟ้องบริษัท แคช ทูเดย์ จันทบุรี เอฟซี จำกัด
เจ้าของสโมสรฟุตบอลจันทบุรี เอฟซี อันเนื่องมาจากการบอกเลิกสัญญาโดยอ้างว่า
พ.ต.ท.ประสงค์ไม่สามารถร่วมฝึกซ้อมกับทีมได้ ประกอบกับเป็นนโยบายของโค้ช
คนใหม่ พ.ต.ท.ประสงค์จึงเป็นโจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลจันทบุรีเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายจาก
กรณีที่สโมสรค้างชำระค่าจ้าง และการเลิกจ้างก่อนครบกำหนดระยะเวลา ตลอดจน
ทำให้เสียชื่อเสียง จนศาลมีคำตัดสินให้จำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหายรวมทั้งสิ้น 134,000 บาท
พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จะเห็นได้ว่าการดำเนินคดีนี้ก็ไม่ได้วินิจฉัย
โดยใช้กฎหมายแรงงานแต่อย่างใด 179
(3.3) การระงับข้อพิพาทในคดีปกครอง
หากมีข้อพิพาทกับองค์กรบริหารจัดการกีฬา ไม่ว่าในส่วนของ
การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) หรือสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทยต่าง ๆ ในทาง
พิจารณาแล้วถือเป็นคดีปกครอง เนื่องจาก กกท. เป็นรัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นตาม
พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 จึงถือเป็นหน่วยงานทาง
ปกครอง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
พ.ศ. 2542 ขณะที่สมาคมกีฬาซึ่งใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ถือว่าเป็นสมาคม
177 พรเทพ ทวีกาญจน์, “การว่าจ้างนักฟุตบอลควรจ้างเป็นสัญญาใด,” วารสาร TPA News 23,
ฉ.269 (พฤษภาคม 2562): 16.
178 สมพล วิธีธรรม, “ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับสัญญานักกีฬาฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย,”
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2553): 125.
179 เบญจวรรณ ธรรมรัตน์, “การพัฒนากฎหมายกำกับดูแลและส่งเสริมกีฬาอาชีพ,” 269-270.
1
สถาบันพระปกเกล้า