Page 182 - b30427_Fulltext
P. 182

กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:    กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
 ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย     ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย


           ภายในองค์กรกำกับกีฬาที่เกี่ยวข้องพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งลงโทษสมาชิกขององค์กร
           กำกับกีฬาหรือคำสั่งทางวินัยนักกีฬาอย่างหนึ่งอย่างใด หากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เป็น

           คู่พิพาทกับองค์กรกำกับกีฬาไม่พอใจในผลของคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการ
           ภายในองค์กรกำกับกีฬาที่เกี่ยวข้องและระเบียบขององค์กรกำกับกีฬา (rules and
           regulations) กำหนดเอาไว้อย่างชัดเจนว่าให้สถาบันอนุญาโตตุลาการทางกีฬา

           เป็นผู้ทำการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทดังกล่าว คู่พิพาทไม่ว่าจะเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เป็น
           คู่พิพาทกับองค์กรกำกับกีฬาก็ดีหรือองค์กรกำกับกีฬาเองก็ตาม ย่อมต้องนำข้อพิพาท
           คู่กรณีต้องให้สถาบันอนุญาโตตุลาการทางกีฬาวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาท เช่น ระเบียบ

           CAS Arbitration rules for the UEFA EURO 2016 ของสหภาพสมาคมฟุตบอล
           ยุโรป (Union of European Football Associations หรือ UEFA) และระเบียบ EFL
           Regulations บรรพ 9 Arbitration มาตรา 95 ถึงมาตรา 103 ของ อิงลิชฟุตบอลลีก

           (English Football League หรือ EFL) เป็นต้น

                         อนึ่งสถาบันอนุญาโตตุลาการทางกีฬาอาจจัดให้มีบริการ
           อนุญาโตตุลาการเฉพาะกิจแก่องค์กรกำกับกีฬาที่เป็นผู้จัดกิจกรรมการแข่งขันกีฬา

           ขนาดใหญ่  เพื่อให้องค์กรกำกับกีฬาที่เป็นผู้จัดกิจกรรมการแข่งขันกีฬาขนาดใหญ่
           ได้ใช้บริการในกรณีที่มีข้อพิพาทที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการแข่งขันกีฬาหรือข้อพิพาท
           ที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงระหว่างองค์กรกำกับกีฬาและ

           ผู้เข้ามาร่วมกิจกรรมการแข่งขันกีฬาดังกล่าว โดยสถาบันอนุญาโตตุลาการทางกีฬา
           อาจแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ (arbitrators) ซึ่งเป็นบุคคลที่สามที่มีความเป็นกลาง
           และมีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายกีฬา รวมทั้งเป็นอิสระไม่ได้สังกัดหรือปฏิบัติงาน

           ขึ้นต่อองค์กรกำกับกีฬาองค์กรหนึ่งองค์กรใด ให้มาทำหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาท
           ในรูปแบบอนุญาโตตุลาการเฉพาะกิจ หากอนุญาโตตุลาการได้วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแล้ว
           คู่กรณีต้องผูกพันที่จะปฏิบัติตามวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทนั้นด้วย ตัวอย่างเช่น

           ศาลอนุญาโตตุลาการทางกีฬาในฐานะที่ดำเนินกิจกรรมแบบอนุญาโตตุลาการแบบ
           สถาบันได้จัดให้มีแผนกอนุญาโตตุลาการเฉพาะกิจของศาลอนุญาโตตุลาการทางกีฬา
           (ad hoc Division of the CAS) ขึ้น เพื่อให้แผนกคดีดังกล่าววินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาท
           (ad hoc division for the Olympic Games) ที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมการแข่งขันกีฬา

           โอลิมปิกในช่วงก่อนพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 10 วันและในระหว่างที่มีการแข่งขัน
           กีฬาโอลิมปิก ทั้งนี้เป็นไปตามกฎข้อที่ 61 แห่งธรรมนูญโอลิมปิก (Rule 61 of the

           Olympic Charter) กำหนดเอาไว้ เป็นต้น


                                              1 1
                                          สถาบันพระปกเกล้า
   177   178   179   180   181   182   183   184   185   186   187