Page 167 - b30427_Fulltext
P. 167
กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย: กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย
กรณีแรก กรณีการร้องทุกข์ด้วยตนเอง กล่าวคือ นักกีฬา
อาชีพหรือบุคลากรกีฬาอาชีพซึ่งเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรมอันเนื่องจาก
การกระทำของสโมสรกีฬาอาชีพหรือสมาคมกีฬาอาชีพซึ่งตนสังกัดหรืออยู่ในความดูแล
หรือสโมสรกีฬาอาชีพ หรือสมาคมกีฬาอาชีพซึ่งไม่ได้รับความเป็นธรรมอันเนื่องจาก
การกระทำของสโมสรกีฬาอาชีพหรือสมาคม กีฬาอาชีพอื่น มีสิทธิร้องทุกข์ต่อ
นายทะเบียนภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ทราบหรือถือว่าทราบเหตุ แห่งการร้องทุกข์
กรณีที่สอง กรณีการร้องทุกข์แทน กล่าวคือนักกีฬาอาชีพ
หรือบุคลากรกีฬาอาชีพอาจมอบฉันทะให้ผู้รับมอบฉันทะร้องทุกข์แทน หากเห็นว่า
ตนไม่ได้รับความเป็นธรรม อันเนื่องจากการกระทำของสโมสรกีฬาอาชีพหรือสมาคม
กีฬาอาชีพซึ่งตนสังกัดหรืออยู่ในความดูแล หรือสโมสรกีฬาอาชีพ หรือสมาคมกีฬา
อาชีพซึ่งไม่ได้รับความเป็นธรรมอันเนื่องจากการกระทำของสโมสรกีฬาอาชีพหรือ
สมาคมกีฬาอาชีพอื่น
ผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์
ผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์ ได้แก่ คณะกรรมการพิจารณา
เรื่องร้องทุกข์ ซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งประกอบด้วยประธานกรรมการและกรรมการ
อื่นอีกสี่คน โดยในจำนวนนี้จะต้องเป็นผู้ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์
ด้านกฎหมายอย่างน้อยหนึ่งคน โดยคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม วาระการดำรง
ตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งของคณะกรรมการ พิจารณาเรื่องร้องทุกข์ ให้เป็น
ไปตามระเบียบคณะกรรมการกีฬาอาชีพว่าด้วยคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม
วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่ง ของคณะกรรมการพิจารณาเรื่อง
ร้องทุกข์ พ.ศ. 2558 (มาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมกีฬาอาชีพ พ.ศ. 2556)
ทั้งนี้คณะกรรมการหรือคณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ จะแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ
เพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการหรือคณะกรรมการ
พิจารณาเรื่องร้องทุกข์มอบหมายก็ได้ (มาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมกีฬา
อาชีพ พ.ศ. 2556)
คำร้องทุกข์และวิธีการยื่นคำร้องทุกข์
คำร้องทุกข์ต้องใช้ถ้อยคำสุภาพและต้องมีรายการและ
เอกสารตามที่กำหนด ดังต่อไปนี้ (ข้อ 5 แห่งระเบียบคณะกรรมการกีฬาอาชีพว่าด้วย
1
สถาบันพระปกเกล้า