Page 165 - b30427_Fulltext
P. 165
กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย: กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย
มาใช้บังคับ หรือซีเอเอสจะดำเนินการพิจารณาระงับข้อพิพาทที่อยู่นอกอำนาจ เว้นแต่
ต้องห้ามโดยชัดแจ้งตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย”
ข้อ 67. แนวทางแก้ไขข้อพิพาท
67.1 สมาคม สมาชิก นักกีฬา เจ้าหน้าที่การแข่งขัน และตัวแทน
ของนักกีฬา บุคลากรจะต้องไม่นำเอากรณีพิพาทต่าง ๆ ซึ่งต้องเสนอตามข้อ 66.
มาฟ้องต่อศาล เว้นแต่มีการบัญญัติไว้ในข้อบังคับลักษณะการปกครองนี้ และกฎของฟีฟ่า
ข้อพิพาทต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจะถูกส่งไปยังฟีฟ่า เอเอฟซี หรือสมาคมเพื่อพิจารณาตาม
อำนาจที่มี
67.2 สมาคมมีอำนาจวินิจฉัยข้อพิพาท ภายในสมาคม และฟีฟ่า
จะมีหน้าที่ตัดสินข้อพิพาทระหว่างประเทศ เช่น ข้อพิพาทระหว่างคณะผู้ทำงานที่มา
จากต่างสมาคม หรือสมาพันธ์”
การระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการเป็นวิธีระงับข้อพิพาททาง
เลือกซึ่งมีความสะดวก รวดเร็ว ยืดหยุ่น คู่ความไม่ต้องวิตกถึงเป็นความไม่ธรรม
ในการดำเนินกระบวนพิจารณา เป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในวงการกีฬาในต่างประเทศที่ใช้กันแพร่หลาย ทำให้ไม่ต้องนำคดีขึ้นสู่ศาล อีกทั้งทำให้
ข้อพิพาทแต่ละคดีระงับลงด้วยความพึงพอใจของคู่กรณี ซึ่งคณะอนุญาโตตุลาการ
ก็แต่งตั้งจากผู้เชี่ยวชาญด้านกีฬาด้วย สมาคมกีฬาอื่น ๆ ควรริ่เริ่มนำมาใช้เฉกเช่น
สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยพยายามทำ
(2) การระงับข้อพิพาทในระดับองค์กรบริหารกีฬา
(2.1) การร้องทุกข์และการระงับข้อพิพาทการกีฬาตามพระราช
บัญญัติส่งเสริมกีฬาอาชีพ พ.ศ. 2556
การร้องทุกข์
การร้องทุกข์ หมายถึง การที่นักกีฬาอาชีพหรือบุคลากรกีฬา
อาชีพผู้ใดเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรม อันเนื่องจากการกระทำของสโมสรกีฬา
อาชีพหรือสมาคมกีฬาอาชีพซึ่งตนสังกัดหรืออยู่ในความดูแล ซึ่งการกระทำของสโมสร
กีฬาอาชีพอาจเกิดจากการใช้อำนาจปกครองกำกับดูแลที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นไปตาม
มาตรฐานการปกครองกำกับดูแลกีฬาในแต่ละชนิดกีฬาหรือเกิดจากการกระทำที่ฝ่าฝืน
1
สถาบันพระปกเกล้า