Page 164 - b30427_Fulltext
P. 164
กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย: กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย
แสดงข้อบังคับ
ลำดับ ชื่อสมาคม
ปรากฎบนเว็บไซต์
83 สมาคมกีฬาอีสปอร์ตแห่งประเทศไทย X
84 สมาคมกีฬาดาร์ทแห่งประเทศไทย X
85 สมาคมกีฬาจานร่อนแห่งประเทศไทย /
จากการสำรวจข้อบังคับของสมาคมกีฬาเหล่านี้ (ยังไม่รวมสมาคม
กีฬาจังหวัดที่มีอีก 77 แห่ง) ซึ่งส่วนหนึ่งนำมาเผยแพร่ลงในเว็บไซต์ของสมาคมกีฬา
แต่ละแห่ง (26 แห่ง) พบว่ามีเพียงสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรม
ราชูปถัมภ์แห่งเดียวเท่านั้นที่ระบุถึงกลไกการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ
166
ขณะที่สมาคมกีฬาแห่งประเทศไทยอื่นไม่มีกลไกเช่นว่านี้เลย
ตามข้อบังคับลักษณะการปกครองของสมาคมกีฬาฟุตบอล
แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ พ.ศ. 2558 แก้ไขเพิ่มเติม (ครั้งที่ 4)
พ.ศ. 2562 ระบุเกี่ยวกับเรื่องนี้เอาไว้ดังนี้
“ข้อ 66. อนุญาโตตุลาการ
66.1 ภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมาย สมาคมโดยสภากรรมการ
อาจจัดตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นพิจารณาชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างสมาคม สมาชิก
สโมสร นักกีฬา เจ้าหน้าที่ ผู้รับผิดชอบการแข่งขัน ตลอดจนตัวแทนของผู้เล่น
องค์ประกอบ อำนาจ และวิธีพิจารณาของคณะอนุญาโตตุลาการให้เป็นไปตามระเบียบ
ที่สภากรรมการกำหนด
66.2 ในกรณีที่สมาคมยังไม่มีคณะอนุญาโตตุลาการได้รับ
การรับรองอย่างถูกต้องภายใต้ระเบียบและข้อบังคับของสมาคม หรือหากเกิดข้อพิพาท
ใด ๆ ซึ่งไม่อยู่ในอำนาจขององค์คณะอนุญาโตตุลาการที่สมาคมขึ้นแล้วให้นำคำตัดสิน
ชี้ขาดคดีล่าสุดของอนุญาโตตุลาการกีฬา (ซีเอเอส) เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
166 ในช่วงก่อนที่จะมีการนำอนุญาโตตุลาการมาใช้เคยตกเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ว่า
อาจเป็นการจำกัดสิทธิในการใช้สิทธิทางศาลของสมาชิกของสมาคมซึ่งขัดกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
คดีความแพ่ง ดู “กรมการปกครองชี้ชัดข้อบังคับใหม่ ส.บอลไทยขัดกฎหมาย,” ไทยรัฐออนไลน์,
26 กรกฎาคม 2556, สืบค้นเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2564, https://www.thairath.co.th/content/359605.
1
สถาบันพระปกเกล้า