Page 137 - 30423_Fulltext
P. 137
131
คดีความอีกจ านวนหนึ่งเป็นประเด็นปัญหาเรื่องการจัดตั้งสมาคมกีฬาบางชนิดในจังหวัดต่าง
ๆ ซึ่งทาง กกท.ไม่อนุญาตให้จัดตั้งขึ้น เรียกแบบเป็นทางการได้ว่าคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงาน
26
ทางปกครองออกค าสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย คดีส าคัญได้แก่ คดีปกครองหมายเลขด าที่ อ.
280/2550 คดีหมายเลขแดงที่ อ.99/2553 ระหว่างสมาคมมวยไทยแห่งประเทศไทย ผู้ฟ้องคดีกับการ
กีฬาแห่งประเทศไทย ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 สมาคมมวยไทยสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ซึ่ง
ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาให้ยกฟ้อง สืบเนื่องจากการอ้างสิทธิในการจัดตั้งสมาคมมวยไทยซ ้าซ้อน
27
กันอันอาจท าให้สังคมสับสน
แต่การยื่นเรื่องต่อศาลปกครองหรือศาลอื่นภายในประเทศก็นับเป็นปัญหาอย่างมากในกรณี
สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย เนื่องจากถือเป็นการกระท าที่ขัดต่อข้อบังคับของสมาคมฟุตบอล
และธรรมนูญสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ ซึ่งอาจท าให้สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติลงโทษสมาคมฟุตบอล
ในลักษณะต่าง ๆ เช่น ตัดสิทธิ์ทีมชาติเข้าร่วมแข่งขันในรายการระดับนานาชาติที่ฟีฟ่ารับรอง ดังเช่น
เมื่อปี พ.ศ. 2559 ฟีฟ่าได้ส่งหนังสือตักเตือนมายังสมาคมฯ หลังจากที่ได้มีบรรดาสโมสรในลีกฟุตบอล
ภูมิภาคในขณะนั้น ได้แก่ สโมสรสุราษฎร์ เอฟซี, ยะลา ยูไนเต็ด, พังงา เอฟซี และ ปัตตานี เอฟซี
ร่วมกันยื่นฟ้องสมาคมฟุตบอลต่อศาลปกครองนครศรีธรรมราช เพื่อให้ออกค าสั่งระงับการเลือกตั้ง
ตัวแทนจากลีกภูมิภาค เพื่อเป็นตัวแทนเข้าไปโหวตเลือกตั้งนายกสมาคมกีฬาฟุตบอลที่จะมีขึ้นใน
ขณะนั้น โดยมีเนื้อหาในหนังสือในลักษณะที่อธิบายว่าธรรมนูญของฟีฟ่าได้บัญญัติให้สมาคมกีฬา
ฟุตบอลทุกประเทศต้องด าเนินกิจกรรมทางกีฬาฟุตบอลอย่างอิสระ และปราศจากการยุ่งเกี่ยวจาก
บุคคลที่สาม ซึ่งในที่นี้ก็อาจตีความไปได้ว่าหมายถึงศาลภายในประเทศด้วย สมาคมฯ จึงมีประกาศให้
สโมสรทั้ง 4 สโมสรด าเนินการถอนฟ้อง มิเช่นนั้นจะต้องถูกระงับสิทธิการเป็นสมาชิกของสมาคมฯ คดี
ดังกล่าวจึงยุติไป
28
(4) มีข้อเสนอแนะให้จัดตั้งอนุญาโตตุลาการทางการกีฬาขึ้นในประเทศไทย
องค์กรก ากับกีฬาที่มีหน้าที่ปกครองกีฬาในแต่ละชนิดกีฬาหรือองค์กรก ากับกีฬาที่เป็น
ผู้จัดการแข่งขันกีฬาย่อมอาจเผชิญกับข้อพิพาทหรือข้อขัดแย้ง (conflict) ระหว่างองค์กรก ากับกีฬา
เองกับสโมสรกีฬาที่เป็นสมาชิกขององค์กรก ากับกีฬาหรือระหว่างองค์กรก ากับกีฬาเองกับผู้มีส่วนได้
ส่วนเสียในแต่ละชนิดกีฬาหรือผู้ที่เข้ามามีส่วนร่วมในการแข่งขันกีฬา เมื่อคู่พิพาทเหล่านี้ไม่สามารถ
เจรจาต่อรองหรือไกล่เกลี่ยประนีประนอมข้อพิพาทเพื่อแสวงหาทางออกร่วมกันในขั้นต้นหรือคู่ความ
26 นัยนา พรประดับ, “การศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับขั้นตอนการจัดตั้งสมาคมกีฬาของการกีฬาแห่งประเทศไทย,”
(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, 2554): 30-32.
27 สืบค้นใน http://www.admincourt.go.th/adminCourt/m/suit.php.
28 ปองภพ นิลนพรัตน์, “ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการลงโทษสโมสรฟุตบอลโดยสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศ
ไทย,” 4.