Page 133 - 30423_Fulltext
P. 133

127



                       ให้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ให้นักกีฬาอื่นใช้สารต้องห้าม   เป็นต้น หรือ บุคคลซึ่งสนับสนุนการกีฬา ได้

                       กระท าความผิดตามกฎหมายในมาตรา 23 ซึ่งก าหนดข้อห้ามอันเกี่ยวกับการใช้สารต้องห้ามทางการ
                       กีฬา เช่น การใช้สารต้องห้ามกับนักกีฬา การซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน ให้ ขนส่ง หรือครอบครองสาร

                       ต้องห้ามส าหรับนักกีฬา การจูงใจ ชักน า ยุยง แนะน า ส่งเสริม สนับสนุน ให้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ

                       ให้นักกีฬาใช้สารต้องห้าม การยักย้าย ท าให้เสียหาย ท าลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย ท าให้สูญหาย หรือ
                       ท าให้ไร้ประโยชน์ซึ่งสารต้องห้าม เอกสาร หรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น


                              การกระท าความผิดของนักกีฬาและบุคคลซึ่งสนับสนุนการกีฬาดังกล่าว เมื่อได้รับค าสั่ง
                       ลงโทษของการกีฬาแห่งประเทศไทยแล้ว ไม่พอใจค าสั่งลงโทษนั้น ในมาตรา 27 ได้ให้สิทธิแก่นักกีฬา

                       และบุคคลซึ่งสนับสนุนการกีฬาดังกล่าว มีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือ ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์

                       ได้ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งค าสั่ง และคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์มีอ านาจพิจารณาและ
                       วินิจฉัยค าสั่งลงโทษของการกีฬาแห่งประเทศไทย โดยต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่

                       วันที่ได้รับหนังสืออุทธรณ์ และมีหน้าที่แจ้งค าวินิจฉัยเป็นหนังสือลงทะเบียนตอบรับให้นักกีฬาหรือ

                       บุคคลซึ่งสนับสนุน ผู้อุทธรณ์ทราบ ค าวินิจฉัยดังกล่าวกฎหมายก าหนดให้เป็นที่สุด

                              ส าหรับองค์ประกอบของคณะกรรมการวินิจฉัยประกอบด้วย ประธานกรรมการและ

                       กรรมการอื่นมีจ านวนรวมกันไม่น้อยกว่า 5 คน และไม่เกิน 7 คน ซึ่งคณะกรรมการควบคุมการใช้สาร
                       ต้องห้ามทางการกีฬาแต่งตั้งขึ้นจากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านการแพทย์ ด้านกฎหมาย และ

                       ด้านกีฬา อย่างน้อยด้านละ 1 คน โดยมีส านักงานควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา สังกัดการ

                       กีฬาแห่งประเทศไทย รับผิดชอบด้านงานธุรการ

                              (3) การระงับข้อพิพาทในระดับศาล


                              หากใช้ประเภทของคดีเป็นตัวแบ่ง เราสามารถแบ่งการระงับข้อพิพาทโดยอาศัยกระบวนการ
                       ยุติธรรมของรัฐซึ่งก็คือ ‘ศาล’ ออกได้อย่างน้อย ๆ 3 รูปแบบ ได้แก่ 3.1 การระงับข้อพิพาทใน

                       คดีอาญา 3.2 การระงับข้อพิพาทในคดีแพ่ง และ 3.3 การระงับข้อพิพาทในคดีปกครอง

                              (3.1) การระงับข้อพิพาทในคดีอาญา


                              บรรดากฎหมายว่าด้วยกีฬาเท่าที่มีของไทยนั้น  แทบทุกฉบับล้วนแล้วแต่ก าหนดบทลงโทษ
                                                                    11
                       ทั้งสิ้น ตัวอย่างฐานความผิด เช่น การใช้สารกระตุ้น การล้มกีฬา การรับสินบนเพื่อล็อคผลการแข่งขัน


                       11  กฎหมายกีฬาเฉพาะของไทยมีทั้งสิ้น 6 ฉบับ เรียงตามล าดับก่อน-หลังได้ดังนี้

                       1. พ.ร.บ.ควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา พ.ศ.2555
                       2. พ.ร.บ.ส่งเสริมกีฬาอาชีพ พ.ศ.2556
                       3. พ.ร.บ.การกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ.2558

                       4. พ.ร.บ.กีฬามวย พ.ศ.2560
                       5. พ.ร.บ.นโยบายกีฬาแห่งชาติ พ.ศ.2561
   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138