Page 135 - 30423_Fulltext
P. 135
129
ระยะเวลายาวนาน ไม่ทันต่อสถานการณ์การแข่งขันที่ก าหนดเป็นฤดูกาลต่อเนื่องกัน ท าให้นักกีฬาเสีย
โอกาส
17
ในทางวิชาการ แม้มีผู้เสนอว่าสัญญาจ้างนักกีฬา (โดยเฉพาะกรณีนักฟุตบอล) เป็นสัญญาจ้าง
แรงงาน ซึ่งนักกีฬาพึงได้รับสิทธิต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และถือเป็น
คดีแรงงานในอ านาจการพิจารณาของศาลแรงงาน อิงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธี
พิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 แต่ในทางปฏิบัติ แทบไม่มีคดีพิพาทเกี่ยวกับการนี้ขึ้นสู่ชั้นพิจารณา
18
ของศาลแรงงาน เนื่องด้วยมาจากอุปสรรคหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการไม่ยอมรับความเป็น
19
นายจ้างของสโมสรกีฬาที่มีภาระตามกฎหมายแรงงาน
20
จากค าพิพากษาที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งค าพิพากษาฎีกาที่ 9202/2559 สัญญาจ้าง
นักกีฬามิใช่สัญญาจ้างแรงงาน หากแต่เป็นสัญญาในทางแพ่งประเภทหนึ่ง เนื่องจากมิใช่สัญญาที่
ความสัมพันธ์ของนายจ้างอยู่ในลักษณะที่มีอ านาจบังคับบัญชาเหนือลูกจ้างอันถือได้ว่าเป็นลักษณะ
ส าคัญของสัญญาจ้างแรงงาน ขณะที่นักกีฬาค่อนข้างมีอิสระในการฝึกซ้อม แข่งขัน ตลอดจนการ
ปฏิบัติตามค าสั่งของผู้ฝึกสอน เจ้าหน้าที่ทีม หรือผู้บริหารทีม โดยมุ่งประสงค์ต่อความส าเร็จของงานที่
รับจ้าง ซึ่งก็คือผลการแข่งขัน เกี่ยวกับเรื่องนี้ศาลยึดเอาหลักเจตนาที่คู่สัญญาตกลงกันเป็นส าคัญ
22
21
แนววินิจฉัยนี้ถูกใช้เป็นบรรทัดฐานต่อมา
ส าหรับคดีละเมิดนั้น เคยมีคดีที่ พ.ต.ท.ประสงค์ พันธ์สวัสดิ์ นักฟุตบอลสโมสรฟุตบอล
จันทบุรี เอฟซี ฟ้องบริษัท แคช ทูเดย์ จันทบุรี เอฟซี จ ากัด เจ้าของสโมสรฟุตบอลจันทบุรี เอฟซี อัน
เนื่องมาจากการบอกเลิกสัญญาโดยอ้างว่า พ.ต.ท.ประสงค์ไม่สามารถร่วมฝึกซ้อมกับทีมได้ ประกอบ
กับเป็นนโยบายของโค้ชคนใหม่ พ.ต.ท.ประสงค์จึงเป็นโจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลจันทบุรีเพื่อเรียกร้อง
ค่าเสียหายจากกรณีที่สโมสรค้างช าระค่าจ้าง และการเลิกจ้างก่อนครบก าหนดระยะเวลา ตลอดจนท า
17 เบญจวรรณ ธรรมรัตน์, “การพัฒนากฎหมายก ากับดูแลและส่งเสริมกีฬาอาชีพ,” (ดุษฎีนิพนธ์นิติศาสตรดุษฎี
บัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามค าแหง, 2559): 6.
18 ดู สุนาฏ หาญเพียรพงศ์, “กฎหมายคุ้มครองนักกีฬาอาชีพ,” (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขานิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2559).
19 แต่ก็พอปรากฏเป็นข่าวว่านักฟุตบอลของบางทีมได้ฟ้องเรียกค่าจ้างต่อศาลแรงงาน และเอาชนะคดีสโมสรอยู่บ้าง
ช่วงปี 2556-2558 ได้แก่ สโมสรอุดรธานี เอฟซี และสโมสรร้อยเอ็ด ยูไนเต็ด อ้างใน เบญจวรรณ ธรรมรัตน์, “การ
พัฒนากฎหมายก ากับดูแลและส่งเสริมกีฬาอาชีพ,” 273.
20 สุนาฏ หาญเพียรพงศ์, “กฎหมายคุ้มครองนักกีฬาอาชีพ,” 89.
21 พรเทพ ทวีกาญจน์, “การว่าจ้างนักฟุตบอลควรจ้างเป็นสัญญาใด,” วารสาร TPA News 23, ฉ.269 (พฤษภาคม
2562): 16.
22 สมพล วิธีธรรม, “ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับสัญญานักกีฬาฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย,” (วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต, สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2553): 125.