Page 66 - b29420_Fulltext
P. 66

กลาง และน้อย กับความตระหนักรู้ที่เปลี่ยนแปลงไป พบว่าความเปลี่ยนแปลงด้านความตระหนักรู้มีความสัมพันธ์

               กับระดับความรู้ของกลุ่มตัวอย่างอย่างมีนัยสำคัญ กล่าวคือ กลุ่มพื้นที่ที่กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนผ่านเกณฑ์ระดับมาก

               จะมีความตระหนักรู้ถึงศักยภาพมากกว่ากลุ่มพื้นที่ที่กล่มุตัวอย่างมีคะแนนผ่านเกณฑ์ระดับน้อยถึงปานกลางอย่างมี

               นัยสำคัญ ใน 2 เรื่อง คือ ความตระหนักถึงศักยภาพในการเสนอแนะนโยบายต่อผู้สมัคร โดยมีค่า F= 19.320 และ
               มีค่า Sig. <.05 และความตระหนักในคุณค่าคะแนนเสียงของตนในการสร้างความเปลี่ยนแปลง โดยมีค่า F= 8.374

               และมีค่า Sig. <.05 ดังปรากฎในตารางที่ 10


               ตารางที่ 10 เปรียบเทียบระดับความรู้ผ่านเกณฑ์กับความเปลี่ยนแปลงด้านความตระหนักรู้


                 Dependent Variable         (J) ระดับความสำเร็จ     df     Mean Square      F         Sig.
             ระดับความสำเร็จ * ความตระหนัก Between Groups               2          .091       .637       .530
             ว่ามีทางเลือกในการเลือกตั้ง   Within Groups              287          .144

                                        Total                         289
             ระดับความสำเร็จ * ความตระหนัก Between Groups               2         2.455     19.320       .000

             ว่ามีโอกาสเสนอแนะนโยบายแก่  Within Groups                287          .127
             ผู้สมัคร                   Total                         289

             ระดับความสำเร็จ * ความตระหนัก Between Groups               2         1.141      8.374       .000
             ในคุณค่าคะแนนเสียงของตนว่า  Within Groups                287          .136
             สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลง   Total                       289

                *. The mean difference is significant at the 0.05 level.

                       จากตารางที่ 10 จะเห็นได้ว่าแม้ระดับความรู้ผ่านเกณฑ์จะมีความสัมพันธ์กับการยกระดับความตระหนัก

               ถึงศักยภาพของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเรื่องของการเสนอแนะนโยบายแก่ผู้สมัคร และตระหนักในคุณค่าคะแนนเสียง

               ของตนในการสร้างความเปลี่ยนแปลงเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม กลับไม่พบว่าความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ

               ระหว่างความเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ของกลุ่มตัวอย่างกับความตระหนักว่าตนเองมีทางเลือกในการเลือกตั้ง แม้จะ

               พบได้ว่ากลุ่มพื้นที่ที่กลุ่มตัวอย่างมีระดับคะแนนความรู้ผ่านเกณฑ์ระดับมากจะรับรู้ถึงอิทธิพลที่ส่งผลต่อการ

               ตัดสินใจเลือกผู้แทนน้อยกว่าพื้นที่ที่กลุ่มตัวอย่างมีระดับคะแนนเปลี่ยนแปลงปานกลางถึงน้อยก็ตาม

                       ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ชี้ให้เห็นไปในทิศทางเดียวกันว่ามีความแตกต่างกันระหว่างพื้นที่ที่กลุ่มตัวอย่างมี

               ความเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ระดับมาก ปานกลาง และน้อย ต่อความตระหนักถึงมีโอกาสในการเสนอแนะ

               นโยบายแก่ผู้สมัครและความตระหนักถึงคุณค่าในคะแนนเสียงของตนเอง แต่ไม่ส่งผลต่อความตระหนักถึง

               ทางเลือกในการเลือกตั้งให้แตกต่างกันมากนัก ยกตัวอย่างเช่น ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในพื้นที่ที่กลุ่มตัวอย่างมีความรู้





                                                                                                           53
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71