Page 62 - b29420_Fulltext
P. 62

•  กลุ่มตัวอย่างผู้มีสิทธิเลือกตั้งในชุมชน น้อยกว่าร้อยละ 30 มีคะแนนความรู้ผ่านเกณฑ์



                       ด้านความตระหนักถึงศักยภาพของตน (self-efficacy) ในที่นี้หมายถึง 1) การตระหนักว่าตนมี
               ศักยภาพในการมีส่วนร่วมผ่านการเสนอแนะนโยบายต่อผู้สมัคร 2) การตระหนักว่าคะแนนเสียงของตนสามารถ

               สร้างความเปลี่ยนแปลงให้แก่พื้นที่ได้ และ 3) การตระหนักว่าตนมีทางเลือกในการเลือกตั้ง
                       ด้านบรรยากาศการเลือกตั้งที่เปลี่ยนแปลงไป ในที่นี้ครอบคลุมบรรรยากาศดังต่อไปนี้ 1) ความรุนแรงใน

               การเลือกตั้งลดลงไป 2) การซื้อสิทธิขายเสียงลดลงไป 3) ทั้งผู้สมัครและผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีความรู้สึกถึงเสรีภาพใน

               การเลือกและในการลงสมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งในที่นี้วัดจากการรับรู้เรื่องอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้สมัครและผู้มี
               สิทธิเลือกตั้ง การมีผู้สมัครหน้าใหม่ที่เพิ่มมากขึ้น และ 4) ทั้งผู้สมัครและผู้มีสิทธิเลือกตั้งยอมรับผลการเลือกตั้ง ไม่

               คุกคาม พูดคุยกันได้เช่นเคยและสามารถทำงานร่วมกันได้ภายหลังการเลือกตั้ง


                       1.  ความเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ความเข้าใจ (knowledge)
                       ผลการศึกษาพบว่าโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง สามารถสร้างความรู้ความเข้าใจให้

               เพิ่มขึ้นได้ทั้งความเข้าใจต่อการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง การมีส่วนร่วมทางการเมืองใน

               กระบวนการเลือกตั้งของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และโทษของการทุจริตเลือกตั้ง ข้อมูลจากแบบสอบถามพบว่าพื้นที่ที่เข้า

               ร่วมโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงจำนวนทั้งสิ้น 12 แห่ง มีจำนวนร้อยละของผู้ที่ได้คะแนน

               ผ่านเกณฑ์มากกว่าพื้นที่ข้างเคียงที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการโดยเฉลี่ยร้อยละมีผู้ผ่านเกณฑ์จำนวนร้อยละ 36 ขณะที่
               พื้นที่ข้างเคียงที่จำนวนผู้ที่ได้คะแนนผ่านเกณฑ์โดยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 6


                       จากข้อมูลพบว่าแม้ในพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการจะมีคะแนนความรู้โดยเฉลี่ยสูงกว่าพื้นที่ข้างเคียง อย่างไรก็

               ตามเมื่อพิจารณารายพื้นที่กลับพบว่า พื้นที่เป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการบางแห่งไม่ได้มีคะแนนความรู้ในระดับผ่าน

               เกณฑ์ขณะเดียวกันระดับความรู้ที่เปลี่ยนแปลงก็ยังแตกต่างกันออกไปตั้งแต่ระดับความรู้ที่เปลี่ยนแปลงไประดับ

               ‘มาก’ ‘ปานกลาง’ และ ‘น้อย’ ดังปรากฎในตารางที่ 7


                       ตารางที่ 7 สรุปจำนวนร้อยละของผู้ที่ได้คะแนนความรู้ผ่านเกณฑ์จำแนกตามพื้นที่เป้าหมาย


                 การด าเนิน        หมู่บ้าน        min      max     average    ร้อยละของผู้ที่ได้  แปรผลความ
                  โครงการ                                                     คะแนนผ่านเกณฑ์    เปลี่ยนแปลง

                              อ.โพนทอง บ้ำน 1       23       84      57.87         35%            ปำนกลำง
                 พื้นที่ด ำเนิน  อ.โพนทอง บ้ำน 2    6.19     87      41.5          10%              น้อย

                  โครงกำร     อ.โพนทอง บ้ำน 3      6.19      87      68.38         10%              น้อย

                              อ.โพนทอง บ้ำน 4      6.19     80.95    50.67         20%              น้อย


                                                                                                           49
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67