Page 59 - b29420_Fulltext
P. 59

บทที่ 4


                                                        ผลการศึกษา


                       งานวิจัยเรื่องการขับเคลื่อนการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง จังหวัดร้อยเอ็ด มีวัตถุประสงค์
               4 ประการ ประกอบด้วย 1) เพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ที่นำกระบวนการส่งเสริมการเลือกตั้ง

               สมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงไปดำเนินการ 2) เพื่อศึกษาเงื่อนไขปัจจัยที่ส่งเสริมหรือขัดขวางต่อกระบวนการ

               เลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง 3) เพื่อศึกษาเงื่อนไขปัจจัยที่ส่งผลต่อความต่อเนื่องของกระบวนการ
               เลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง และ 4) เพื่อพัฒนาตัวแบบ (model) ของกระบวนการเลือกตั้ง

               สมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง สำหรับขยายผลในพื้นที่อื่นต่อไป

                       การศึกษาดำเนินการกับพื้นที่เป้าหมายจำนวน 17 แห่ง ซึ่งแบ่งออกเป็นพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการเลือกตั้ง
               สมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง ระหว่างปี 2560-2564 จำนวน 12 แห่ง และ พื้นที่ข้างเคียงพื้นที่ดำเนิน

               โครงการจำนวน 5 แห่ง แต่เนื่องจากเรื่องการเลือกตั้งเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยกับผู้ให้

               ข้อมูลผู้วิจัยจะขอปกปิดรายละเอียดหมู่บ้านทั้งหมด และระบุเพียงอำเภอและตำบลเป้าหมายในจังหวัดร้อยเอ็ด
               เท่านั้น โดยรายละเอียดของพื้นที่เป้าหมายแบ่งออกเป็นพื้นที่ที่ดำเนินโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิ

               ขายเสียงจำนวน 12 แห่ง ประกอบด้วย พื้นที่เป้าหมายในอำเภอโพนทองจำนวน 7 แห่ง พื้นที่เป้าหมายในอำเภอ
               สุวรรณภูมิ 1 แห่ง ในอำเภอเมืองร้อยเอ็ด 1 แห่ง อำเภอหนองฮี 1 แห่ง อำเภอโพนทราย 1 แห่ง และอำเภอปทุ

               รัตต์ 1 แห่ง ส่วนพื้นที่ข้างเคียงพื้นที่ดำเนินโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง มีจำนวน 5 แห่ง

               แบ่งออกเป็นพื้นที่เป้าหมายในอำเภอโพนทอง 1 แห่ง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด 1 แห่ง อำเภอสุวรรณภูมิ 1 แห่ง อำเภอ
               หนองฮี 1 แหง และ อำเภอโพนทราย 1 แห่ง

                       การเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการด้วยวิธีการผสมผสานระหว่างการเก็บแบบสอบถาม (questionnaire)
               การสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) การสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง (semi-structured interview) การ

               สนทนากลุ่ม (focus group) และการศึกษาเอกสาร (documentary research) โดยการเก็บข้อมูลแบบสอบถาม

               ดำเนินการกับกลุ่มตัวอย่างผู้มีสิทธิเลือกตั้งในพื้นที่เป้าหมาย จำนวนทั้งสิ้น 290 คน ซึ่งแบ่งออกเป็น
                       1)  กลุ่มที่ 1 กลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ดำเนินโครงการ “ที่เข้าร่วมเวทีเสวนา” จำนวนทั้งสิ้น 120 คน โดย

                          แบ่งเป็นเพศชาย จำนวน 63 คน เพศหญิงจำนวน 57 คน

                       2)  กลุ่มที่ 2 กลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ดำเนินโครงการ “ที่ไม่ได้เข้าร่วมเวทีเสวนา” จำนวนทั้งสิ้น 120 ชุด
                          โดยแบ่งเป็นเพศชาย จำนวน 58 คน เพศหญิงจำนวน 62 คน

                       3)  กลุ่มที่ 3 กลุ่มตัวอย่างใน “พื้นที่ข้างเคียงพื้นที่ดำเนินโครงการ” จำนวนทั้งสิ้น 50 ชุด โดยแบ่ง
                          ออกเป็นเพศชาย จำนวน 23 คน เพศหญิงจำนวน 27 คน






                                                                                                           46
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64