Page 55 - b29420_Fulltext
P. 55
1.2.4 เกณฑ์การขอถอนตัวหรือคัดกลุ่มตัวอย่างออกจากการวิจัยหลังเข้าร่วมโครงการวิจัยแล้ว
ผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยสามารถถอนตัวได้ทุกเมื่อหากรู้สึกไม่สบายใจ หรือลำบากใจในการตอบคำถาม โดย
ผู้วิจัยจะพิจารณารับผู้เข้าร่วมการวิจัยใหม่เข้าร่วมโครงการวิจัยเพื่อทดแทนจำนวนผู้เข้าร่วมการวิจัยที่ถอนตัวไป
อย่างไรก็ตาม หากผู้เข้าร่วมการวิจัยอนุญาตผู้วิจัยจะยังนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการวิเคราะห์ แต่จะไม่มีการนำเสนอ
ผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลดังกล่าว นอกจากนั้น ผู้วิจัยอาจคัดผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยออกได้เสมอหากพบว่า
ข้อมูลที่ได้ไม่มีคุณภาพ ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ในการวิจัย หรืออาจก่อให้เกิดความเสี่ยงแก่ผู้วิจัย
1.3 ขอบเขตด้านเนื้อหา
การศึกษานี้ครอบคลุมการดำเนินโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง ของแกนนำพลเมือง
จังหวัดร้อยเอ็ด ในอำเภอเป้าหมายทั้ง 6 แห่ง ประกอบด้วยอำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภอโพนทอง อำเภอสุวรรณภูมิ
อำเภอหนองฮี อำเภอปทุมรัตต์ และอำเภอโพนทราย ในการเลือกตั้งระดับท้องที่ ในปี 2560-2564 รวมจำนวน 16
พื้นที่ และในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น 1 แห่ง ในเทศบาลตำบลโพนสูง อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อศึกษา
ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ที่นำกระบวนการส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงไป
ดำเนินการ ตลอดจนศึกษาเงื่อนไขปัจจัยที่ส่งเสริมหรือขัดขวางรวมไปถึงสร้างความต่อเนื่องต่อกระบวนการ
เลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง
2. การเก็บข้อมูลการวิจัย
การเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการด้วยวิธีการผสมผสานระหว่างการเก็บแบบสอบถาม (questionnaire)
การสัมภาษณ์ซึ่งประกอบด้วย การสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) และการสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง
(semi-structured interview) การสนทนากลุ่ม (focus group) และการศึกษาเอกสาร (documentary
research) โดยแต่ละวิธีการจะพิจารณาให้สอดคล้องเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย กล่าวคือ 1) แกนนำผู้ดำเนิน
โครงการในพื้นที่เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการจัดสนทนากลุ่ม 2) ผู้สมัครรับเลือกตั้งเก็บข้อมูลโดยการ
สัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง 3) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและขอความอนุเคราะห์
เอกสารที่เกี่ยวข้อง และ 4) ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามและการสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง
การเก็บข้อมูลในการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงแรกเป็นการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยเครื่องมือคือ
แบบสอบถามเป็นหลัก เพื่อให้ทราบทิศทางของคำตอบ จากนั้นจึงเก็บข้อมูลเพิ่มเติมด้วยวิธีเชิงคุณภาพ โดยการ
สัมภาษณ์ การสนทนากลุ่มและขอเอกสารประกอบ โดยแต่ละช่วงมีรายละเอียดของวิธีการเก็บข้อมูลดังต่อไปนี้
2.1 การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ
ดำเนินการเป็นขั้นแรก โดยเครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม (questionnaire) เพื่อวัดความรู้ความเข้าใจ
ทัศนคติและการรับรู้ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ภายหลังจากมีการดำเนินโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อ
42