Page 53 - b29420_Fulltext
P. 53
3.2. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในพื้นที่ดำเนินโครงการ “ที่ไม่ได้เข้าร่วมเวทีเสวนา” ใช้วิธีการสุ่มอย่างเป็นระบบ
(systematic sampling) จากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งของหมู่บ้านเป้าหมาย จำนวน 10 คน
แบ่งเป็นเพศชาย 5 คน เพศหญิง 5 คน
3.3. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในพื้นที่ข้างเคียงพื้นที่ดำเนินโครงการ ใช้วิธีการสุ่มอย่างเป็นระบบ (systematic
sampling) จากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งของหมู่บ้านเป้าหมาย จำนวน 10 คน แบ่งเป็นเพศ
ชาย 5 คน เพศหญิง 5 คน
4. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจงเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดร้อยเอ็ด อำเภอและเทศบาลที่เกี่ยวข้อง จากนั้นจึง
ทำหนังสือเพื่อขอสัมภาษณ์และเก็บข้อมูลต่อไป
โดยการคัดเลือกผู้เข้าร่วมวิจัยแต่ละกลุ่มมีเกณฑ์ในการคัดกลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมการวิจัยและคัดออกจาก
การวิจัยดังนี้
1.2.2 เกณฑ์การคัดกลุ่มตัวอย่างเข้าสู่การวิจัย
1. กลุ่มแกนนำผู้ดำเนินโครงการ คือ
1.1 เป็นเพศชายหรือหญิง อายุ 18 ปี ขึ้นไป
1.2 เป็นผู้นำโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงไปดำเนินการในชุมชนและมีปฏิบัติการ
ต่างๆ อาทิ ประสานฝ่ายต่างๆ เป็นวิทยากร และร่วมดำเนินการจนสามารถจัดเวทีเสวนาระหว่าง
ผู้สมัครและผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
1.3 ยินยอมลงนามในหนังสือแสดงเจตนายินยอมโดยสมัครใจ
2. กลุ่มผู้สมัครรับเลือกตั้งระดับท้องที่ คือ
2.1 เป็นเพศชายหรือหญิง อายุ 25 ปีขึ้นไป
2.2 เป็นผู้ที่ลงสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน ในพื้นที่ดำเนินโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขาย
เสียง และพื้นที่ข้างเคียงที่ได้จากการสุ่มเลือก ซึ่งได้รับการรับรองคุณสมบัติโดยอำเภอ
2.3 ยินยอมลงนามในหนังสือแสดงเจตนายินยอมโดยสมัครใจ
3. กลุ่มผู้สมัครรับเลือกตั้งระดับท้องถิ่น คือ
3.1 เป็นเพศชายหรือหญิง อายุ 35 ปีขึ้นไป
3.2 เป็นผู้ที่ลงสมัครรับเลือกเป็นนายกเทศมนตรี ในพื้นที่ดำเนินโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อ
สิทธิขายเสียง คือ เทศบาลตำบลโพนสูง อ.ปทุมรัตต์ จ.ร้อยเอ็ด ซึ่งได้รับการรับรองคุณสมบัติโดย
คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดร้อยเอ็ด
40