Page 50 - b29420_Fulltext
P. 50
บทที่ 3
ระเบียบวิธีวิจัย
งานวิจัยชิ้นนี้ดำเนินการวิจัยโดยใช้รูปแบบผสม (mixed method) ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ
(quantitative research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) เพื่อตอบวัตถุประสงค์การวิจัย 4
ประการ ประกอบด้วย ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายหลังจากการดำเนินโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อ
สิทธิขายเสียงในพื้นที่ เงื่อนไขปัจจัยที่ส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงและความต่อเนื่องในการดำเนินโครงการเพื่อ
พัฒนาเป็นตัวแบบ (model) ในการส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง งานวิจัยชิ้นนี้ใช้
ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณเพื่อสำรวจความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ว่าเหมือนหรือแตกต่างกันในแง่ใด
มีความแตกต่างกันหรือไม่ระหว่างพื้นที่ที่ดำเนินโครงการและพื้นที่ที่ไม่ดำเนินโครงการ พร้อมทั้งชี้ให้เห็นแนวโน้ม
ของเงื่อนไขปัจจัยที่ส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงและความต่อเนื่องของการดำเนินโครกงาร และความสัมพันธ์
ระหว่างตัวแปรกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพนำมาประยุกต์ใช้เพื่อทวนสอบความถูกต้อง
ของข้อมูลและเก็บข้อมูลในรายละเอียดเพื่อตอบคำถามเรื่องเงื่อนไขปัจจัยที่ส่งเสริมหรือขัดขวางต่อกระบวนการ
เลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง ตลอดจนปัจจัยที่ส่งผลต่อความต่อเนื่องในการดำเนินโครงการเพื่อ
พัฒนาตัวแบบ (model) ของกระบวนการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงสำหรับขยายผลในพื้นที่อื่น
ต่อไป
1.ขอบเขตการวิจัย
1.1 ขอบเขตด้านพื้นที่
การวิจัยครั้งนี้จะดำเนินการกับการพื้นที่ที่มีการดำเนินโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง
ในจังหวัดร้อยเอ็ดระหว่างปี 2560-2564 ใน 6 อำเภอเป้าหมาย ประกอบด้วย อำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภอโพนทอง
อำเภอสุวรรณภูมิ อำเภอหนองฮี อำเภอปทุมรัตต์ และอำเภอโพนทราย ในหมู่บ้าน ตำบล ที่มีการดำเนินโครงการ
เลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง จำนวน 12 แห่ง และหมู่บ้านข้างเคียงพื้นที่ดำเนินโครงการเลือกตั้ง
ผู้ใหญ่บ้านแบบสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงซึ่งได้จากการสุ่มเลือก จำนวน 5 แห่ง รวมจำนวนพื้นที่เป้าหมาย
ทั้งสิ้น 17 แห่ง ประกอบด้วย
37