Page 47 - b29420_Fulltext
P. 47
จากตัวแปรที่ปรากฎในตารางที่ 4 และ นิยามตัวชี้วัดความเปลี่ยนแปลงแต่ละระดับที่ปรากฎในตาราง
ที่ 2 ผู้วิจัยจึงได้พัฒนากรอบการศึกษาการขับเคลื่อนโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงขึ้น
โดยกำหนดศึกษาตัวแปรทั้ง 5 ตัว ประกอบด้วย 1) แกนนำที่นำโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขาย
เสียงไปดำเนินการในพื้นที่ 2) กระบวนการส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงของแกนนำ
3) องค์ความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงที่แกนนำถ่ายทอดและที่ผู้เกี่ยวข้องรับรู้
4) วัฒนธรรมวิถีปฏิบัติของผู้สมัครและผู้มีสิทธิเลือกตั้งในช่วงของการหาเสียงเลือกตั้ง และ 5) ผลประโยชน์
หรือเครือข่ายภายในชุมชนที่อาจมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกผู้สมัคร โดยกำหนดให้ตัวแปรตามในที่นี้คือ
ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นใน 4 ด้าน ประกอบด้วย
1. ด้านความรู้ความเข้าใจ ของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทั้งแกนนำ ผู้นำ ผู้สมัคร และผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง
2. ด้านความตระหนักรู้ถึงศักยภาพของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ในการสร้างความเปลี่ยนแปลงผ่านการ
เลือกตั้ง ในการเสนอแนะนโยบายต่างๆแก่ผู้สมัคร และในคุณค่าคะแนนเสียงของตนเอง
3. ด้านการปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรม ของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายที่ส่งเสริมต่อการเลือกตั้ง
สมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง เช่น การริเริ่มกิจกรรมและทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเลือกตั้ง
สมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง
4. ด้านบรรยากาศในการเลือกตั้งและการหาเสียงเลือกตั้ง ที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
4.1 การรับรู้เรื่องการซื้อสิทธิขายเสียงที่ลดลง
4.2 การรับรู้เรื่องการหาเสียงที่ไม่มีการโจมตี ความรุนแรงลดลง และมีความสมานฉันท์ภายหลัง
การเลือกตั้ง
โดยความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในที่นี้จำแนกความแตกต่างออกเป็น 3 ระดับ คือ
พื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงระดับมาก ในที่นี้คือพื้นที่ที่มีความเปลี่ยนแปลง ดังต่อไปนี้
• ร้อยละ 50 ของกลุ่มตัวอย่างผู้มีสิทธิเลือกตั้งในชุมชน มีคะแนนความรู้ผ่านเกณฑ์
• กลุ่มตัวอย่างรับรู้ถึงการหาเสียงว่าโจมตีกันลดลง มีความสมานฉันท์ภายหลังการเลือกตั้ง
• กลุ่มตัวอย่างรับรู้ถึงระดับการซื้อเสียงที่ลดลง
• มีผู้สมัครหน้าใหม่เพิ่มขึ้น
พื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงระดับปานกลาง ในที่นี้คือพื้นที่ที่มีความเปลี่ยนแปลง ดังต่อไปนี้
• ร้อยละ 30 ของกลุ่มตัวอย่างผู้มีสิทธิเลือกตั้งในชุมชน มีคะแนนความรู้ผ่านเกณฑ์
• กลุ่มตัวอย่างรับรู้ถึงการหาเสียงว่าโจมตีกันลดลง มีความสมานฉันท์ภายหลังการเลือกตั้ง
• กลุ่มตัวอย่างรับรู้ถึงระดับการซื้อเสียงที่ลดลง
พื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงระดับน้อย ในที่นี้คือพื้นที่ที่มีความเปลี่ยนแปลงทั้ง ดังต่อไปนี้
• กลุ่มตัวอย่างผู้มีสิทธิเลือกตั้งในชุมชน น้อยกว่าร้อยละ 30 มีคะแนนความรู้ผ่านเกณฑ์
35