Page 52 - b29420_Fulltext
P. 52

6.  ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (ในพื้นข้างเคียงพื้นที่ดำเนินโครงการ)

                       7.  หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดร้อยเอ็ด อำเภอ
                          เป้าหมาย และ เทศบาลที่เกี่ยวข้อง


                      1.2.1 การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง

                      การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยนี้แตกต่างกันออกไปในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้


                      1.  กลุ่มแกนนำผู้ดำเนินโครงการ ในที่นี้หมายถึงแกนนำที่ดำเนินโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อ
                          สิทธิขายเสียงในชุมชน อาทิ ประสานฝ่ายต่างๆ จัดเวทีเสวนาระหว่างผู้สมัครและผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

                          รณรงค์ จับตาการเลือกตั้ง เป็นต้น กลุ่มนี้ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (purposive

                          sampling) โดยประสานขอรายชื่อผู้ที่ดำเนินโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงไปยัง
                          สภาพลเมืองร้อยเอ็ดหรือศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อได้รายชื่อแล้วจึง

                          ประสานทาบทามเข้าร่วมวิจัย พร้อมทั้งคัดเลือกแกนนำกลุ่มตัวอย่างเพิ่มเติมแบบลูกโซ่ (snowball

                          sampling) โดยสอบถามแกนนำผู้ที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อ
                          สิทธิขายเสียงในระดับพื้นที่ จากนั้นจัดเป็นกลุ่มแกนนำที่ขับเคลื่อนโครงการฯในแต่ละพื้นที่ เพื่อนัด

                          หมายขอสัมภาษณ์ต่อไป

                      2.  กลุ่มผู้สมัครรับเลือกตั้ง แบ่งออกเป็น
                          2.1. ผู้สมัครรับเลือกตั้งระดับท้องที่ ในการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านจำนวน 16 แห่ง ประกอบด้วยพื้นที่

                              ดำเนินโครงการ 11 แห่ง และพื้นที่ข้างเคียงพื้นที่ดำเนินโครงการ 5 แห่ง ใช้การคัดเลือกด้วย
                              วิธีการแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) โดยสอบถามข้อมูลรายชื่อผู้สมัครจากอำเภอ

                              เป้าหมาย จากนั้นขอข้อมูลวิธีการเข้าถึงผู้สมัครแต่ละรายอย่างเหมาะสมจากนายอำเภอหรือ

                              แกนนำพลเมืองแล้วจึงโทรประสานสอบถามถึงความสมัครใจเพื่อนัดสัมภาษณ์ต่อไป
                          2.2. ผู้สมัครรับเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ในที่นี้คือผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีในเทศบาล

                              เป้าหมาย 1 แห่ง คือ เทศบาลตำบลโพนสูง อำเภอปทุมรัตต์ ใช้การคัดเลือกด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง
                              (purposive sampling) จากรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งนายกเทศมนตรี ในการเลือกตั้งปี 2564

                              จากสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดร้อยเอ็ดและเทศบาลเป้าหมาย จากนั้น

                              จึงโทรประสานสอบถามถึงความสมัครใจเพื่อนัดสัมภาษณ์ต่อไป
                      3.  ชาวบ้านผู้มีสิทธิเลือกตั้งในชุมชน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มมีวิธีคัดเลือกดังนี้

                          3.1. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในพื้นที่ดำเนินโครงการ “ที่เข้าร่วมเวทีเสวนา” ใช้การสุ่มอย่างเป็นระบบ

                              (systematic sampling) จากใบลงทะเบียนเข้าร่วมเวทีเสวนากับแกนนำในพื้นที่ จำนวน 10 คน
                              แบ่งเป็นเพศชาย 5 คนและเพศหญิง 5 คน






                                                                                                           39
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57