Page 57 - b29420_Fulltext
P. 57
2.2.2 การสนทนากลุ่ม (focus group) ในที่นี้จะดำเนินการกับกลุ่มแกนนำที่ดำเนินโครงการในพื้นที่
พื้นที่ครั้งละไม่เกิน 10 คน โดยอาจใช้การประชุมออนไลน์ผ่าน Zoom กรณีที่ไม่สามารถลงพื้นที่ได้ โดยผู้วิจัยจะ
สำรวจวันเวลาที่กลุ่มแกนนำและหน่วยงานสะดวกในการร่วมสนทนากลุ่มเป็นอันดับแรก จากนั้นจึงกำหนดวันเวลา
ที่จัดสนทนากลุ่มขึ้นอีกครั้ง โดยในการสนทนากลุ่มนั้นผู้วิจัยจะตีกรอบคำถามไว้กว้างๆเกี่ยวกับเงื่อนไขปัจจัยที่
ส่งผลต่อการดำเนินโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงทั้งในลักษณะของการสนับสนุนและข้อท้า
ทาย เพื่อเปิดประเด็นให้แกนนำผู้ดำเนินโครงการได้อภิปรายร่วมกันในรายละเอียด โดยระยะเวลาในการสนทนา
กลุ่มคือ 3 ชั่วโมง
2.2.3 การศึกษาเอกสาร (documentary research) แบ่งออกเป็นการสำรวจเอกสารจากแหล่งข้อมูล
ปฐมภูมิ เช่น เอกสารเกี่ยวกับการเลือกตั้ง จำนวนผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง จำนวนผู้สมัครหน้าใหม่ จำนวนคดีที่มีการ
ฟ้องร้องทั้งในอดีตก่อนที่จะมีการดำเนินโครงการและภายหลังจากที่มีการดำเนินโครงการ จำนวนป้ายหาเสียงที่มี
การแจ้งว่าถูกทำลาย กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และบันทึกการลงนามความร่วมมือ เป็นต้น ด้านเอกสารชั้นทุติยภูมิมี
อาทิงานวิจัยต่างๆ บันทึกที่เกี่ยวข้องกับชุมชนและการเลือกตั้งที่ผ่านมา เป็นต้น
3. เครื่องมือวิจัยและการตรวจสอบเครื่องมือ
เพื่อให้งานวิจัยชิ้นนี้มีความเที่ยงตรงของข้อมูลและสามารถตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัยได้อย่างแม่นยำ
เครื่องมือในการวิจัย ซึ่งประกอบไปด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และกรอบการสนทนากลุ่ม ที่ผู้วิจัย
พัฒนาขึ้นจะได้รับการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่านเพื่อให้ความเห็นต่อความเที่ยงตรงต่อการตอบ
วัตถุประสงค์ของแบบสอบถาม จากนั้นปรับปรุงคำถามตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิและนำไปทดสอบกับกลุ่ม
ตัวอย่างข้างเคียงจำนวน 20 ชุด สุดท้ายเครื่องมือวิจัยได้ส่งเข้ารับการพิจารณากับคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย
ในคน (IRB) ของสถาบันพระปกเกล้า และปรับปรุงตามคำแนะนำก่อนนำไปใช้จริง
4. การวิเคราะห์ข้อมูล
ข้อมูลที่รวบรวมได้จะได้รับการแปรผลตามระเบียบวิธีวิจัย โดยข้อมูลจากแบบสอบถามจะใช้การแปรผล
เชิงสถิติในการพิจารณาผลรวม (sum) ค่าเฉลี่ย (average) ของแต่ละข้อคำถามเพื่อชี้ให้เห็นแนวโน้มความ
เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับพื้นที่ที่ดำเนินโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงว่ามีความแตกต่างอย่าง
มีนัยสำคัญจากพื้นที่ที่ไม่มีการดำเนินโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงหรือไม่ นอกจากนั้นจะนำ
การวิเคราะห์สถิติ One Way Anova และวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบถดถอย (regression) มาใช้ศึกษาประกอบ
กันเพื่อดูความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น อาทิ มีความสัมพันธ์กันหรือไม่ระหว่าง
การดำเนินโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ เป็นต้น
44