Page 61 - b29420_Fulltext
P. 61

ผลการศึกษาที่ได้ ผู้วิจัยขอแบ่งการนำเสนอตามวัตถุประสงค์ ประกอบด้วย 1) ความเปลี่ยนแปลงที่

               เกิดขึ้นในพื้นที่ที่นำกระบวนการส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงไปดำเนินการ 2) เงื่อนไข
               ปัจจัยที่ส่งเสริมหรือขัดขวางต่อกระบวนการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง 3) เงื่อนไขปัจจัยที่ส่งผลต่อ

               ความต่อเนื่องของกระบวนการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง และ 4) ตัวแบบ (model) ของ

               กระบวนการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง สำหรับขยายผลในพื้นที่อื่นต่อไป


               1. ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับพื้นที่ที่ดำเนินโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง
                       ความเปลี่ยนแปลงที่กำหนดไว้ในรายงานฉบับนี้ แบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ ด้านความรู้ความเข้าใจ

               (knowledge) ด้านความตระหนักถึงศักยภาพของตน (self-efficacy) และบรรยากาศการเลือกตั้งที่เปลี่ยนแปลง

               ไป โดยความเปลี่ยนแปลงในแต่ละด้านมีรายละเอียดดังนี้
                       ด้านความรู้ความเข้าใจ (knowledge) ในที่นี้คือการมุ่งหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้านการเข้าร่วม

               โครงการกับความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่จำเป็นต่อการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงที่เพิ่มมากขึ้นใน 3

               เรื่อง ประกอบด้วย ความเข้าใจว่าการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงคืออะไร ความเข้าใจว่าการมีส่วน

               ร่วมทางการเมืองในกระบวนการเลือกตั้งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งคืออะไร และความเข้าใจโทษของการทุจริตเลือกตั้ง

               โดยเฉพาะอย่างยิ่งโทษของการซื้อสิทธิขายเสียงต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการพัฒนาประชาธิปไตย โดย
               กำหนดให้ระดับความรู้ที่ถือว่าผ่านเกณฑ์อยู่ที่ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็มทั้งหมด โดยงานวิจัยชิ้นนี้กำหนดให้ผล

               คะแนนความรู้ความเข้าใจการเลือกตั้งที่มีคุณภาพและโทษของการซื้อสิทธิขายเสียงให้เป็นส่วนหนึ่งของความ

               เปลี่ยนแปลงตามความคาดหวังของการดำเนินโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงในระดับที่

               แตกต่างกันออกไปดังนี้


                       พื้นที่ที่มีความเปลี่ยนแปลงระดับ “มาก” ในที่นี้หมายถึงพื้นที่ที่มีความเปลี่ยนแปลงดังต่อไปนี้

                          •  ร้อยละ 50 ของกลุ่มตัวอย่างผู้มีสิทธิเลือกตั้งในชุมชน มีคะแนนความรู้ผ่านเกณฑ์

                          •  กลุ่มตัวอย่างรับรู้ถึงการหาเสียงว่าโจมตีกันลดลง มีความสมานฉันท์ภายหลังการเลือกตั้ง

                          •  กลุ่มตัวอย่างรับรู้ถึงระดับการซื้อเสียงที่ลดลง
                          •  มีผู้สมัครหน้าใหม่เพิ่มขึ้น

                       พื้นที่ที่มีความเปลี่ยนแปลงระดับ “ปานกลาง” ในที่นี้หมายถึงพื้นที่ที่มีความเปลี่ยนแปลงดังต่อไปนี้

                          •  ร้อยละ 30 ของกลุ่มตัวอย่างผู้มีสิทธิเลือกตั้งในชุมชน มีคะแนนความรู้ผ่านเกณฑ์

                          •  กลุ่มตัวอย่างรับรู้ถึงการหาเสียงว่าโจมตีกันลดลง มีความสมานฉันท์ภายหลังการเลือกตั้ง

                          •  กลุ่มตัวอย่างรับรู้ถึงระดับการซื้อเสียงที่ลดลง
                       พื้นที่ที่มีความเปลี่ยนแปลงระดับ “น้อย” ในที่นี้หมายถึงพื้นที่ที่มีความเปลี่ยนแปลงดังต่อไปนี้




                                                                                                           48
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66