Page 65 - b29420_Fulltext
P. 65

ตารางที่ 9 ความสัมพันธ์ระหว่างระดับคะแนนผ่านเกณฑ์ของกลุ่มตัวอย่างกับระดับความเปลี่ยนแปลงในพื้นที่


                      Dependent         (J) ระดับ                     Mean
                      Variable          ความสำเร็จ         df        Square         F          Sig.

                     ระดับความสำเร็จ *    Between               78        .200       1.641         .003
                     ร้อยละความรู้      Groups
                     ผ่านเกณฑ์          Within Groups          211        .122

                                        Total                  289
                       *. The mean difference is significant at the 0.05 level.



                       ในตารางที่ 6 จะเห็นได้ว่าเมื่อเปรียบเทียบระหว่างระดับคะแนนผ่านเกณฑ์ของกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่กับ
               ระดับความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ในภาพรวม พบว่าจำนวนของกลุ่มตัวอย่างที่มีความรู้ผ่านเกณฑ์จะมี

               ความสัมพันธ์กับระดับความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ในระดับมากอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีค่า F=1.641 และ Sig.<.05

               กล่าวคือ พื้นที่ที่กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนผ่านเกณฑ์จำนวนมากจะส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ในการดำเนิน

               โครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงในระดับ ‘มาก’ เช่นเดียวกัน แต่หากกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่

               จำนวนมากมีคะแนนความรู้ความเข้าใจต่อการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงไม่ผ่านเกณฑ์ พื้นที่นั้นก็

               จะมีระดับความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ภายหลังดำเนินโครงการจะอยู่ในระดับ ‘น้อย’

                       กล่าวโดยสรุปได้ว่า โครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงสามารถเสริมสร้างความรู้ความ

               เข้าใจเรื่องการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง การมีส่วนร่วมในกระบวนการเลือกตั้ง และโทษของการ

               ซื้อสิทธิขายเสียงให้แก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในระดับพื้นที่ ในสัดส่วนที่มากกว่าพื้นที่ข้างเคียงที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ

               ทั้งยังมีความสัมพันธ์กับระดับความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ภายหลังดำเนินโครงการ จึงกล่าวได้ว่าโครงการเลือกตั้ง

               สมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงสามารถสร้างความรู้ความเข้าใจการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง

               ให้แก่ผู้ที่เข้าร่วมรับฟังการเสวนาในเวทีได้ อย่างไรก็ตาม เรื่องความรู้ความเข้าใจโครงการอาจแตกต่างกันออกไปใน

               แต่ละพื้นที่ยขึ้นอยู่กับเงื่อนไขปัจจัยอื่นที่จำเป็นต้องได้รับการศึกษาเชิงคุณภาพต่อไป


                       2.  ด้านความตระหนักถึงศักยภาพของตน (self-efficacy)
                       ความตระหนักถึงศักยภาพที่เปลี่ยนแปลงไปในที่นี้ พิจารณาความเปลี่ยนแปลงใน 3 เรื่องประกอบด้วย 1)

               การตระหนักว่าตนเองมีศักยภาพในการเสนอแนะนโยบายต่อผู้สมัคร 2) การตระหนักว่าคะแนนเสียงของตน

               สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงให้แก่พื้นที่ได้ และ 3) การตระหนักว่าตนเองมีทางเลือกในการเลือกตั้ง ผลการ

               วิเคราะห์ด้วย One Way Anova เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพื้นที่ที่กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนผ่านเกณฑ์ระดับมาก ปาน





                                                                                                           52
   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70