Page 64 - b29420_Fulltext
P. 64

คุณภาพและโทษของการเลือกตั้ง ร้อยละ 20 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความรู้เหล่านี้มีปรากฎอยู่ในสังคมและผู้มีสิทธิ

               เลือกตั้งสามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้เช่นกัน ทว่าจำนวนที่ความรู้ที่เปลี่ยนแปลงไปน้อยในพื้นที่ข้างเคียงก็ยืนยันให้

               เห็นแล้วว่าการเข้าถึงความรู้ที่มีอยู่โดยทั่วไปไม่เพียงพอต่อการสร้างความเข้าใจความสำคัญของการเลือกตั้งที่ดีและ

               มีคุณภาพได้ การเข้าร่วมโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงจึงมีโอกาสสร้างความเข้าใจต่อเรื่อง
               ดังกล่าวมากกว่า แม้จะเป็นไปอย่างจำกัดขึ้นอยู่กับเงื่อนไขปัจจัยอื่นประกอบกันก็ตาม


                       เมื่อนำข้อมูลข้างต้นมาวิเคราะห์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิ

               ขายเสียงกับคะแนนความรู้ที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยสถิติ One Way Anova พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมี

               นัยสำคัญระหว่างความรู้ที่เพิ่มมากขึ้นกับการเข้าร่วมโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง ดังปรากฎ

               ในตารางที่ 5 โดยมีค่า F = .008 และ Sig. > .05

                       ตารางที่ 8 ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ที่เพิ่มมากขึ้นกับการดำเนินโครงการ


                                                                              Std.         F          Sig.
                 Independent Variable  Dependent Variable     N     Mean
                                                                           Deviation
                ร้อยละรวมความรู้       หมู่บ้านที่เข้าร่วม     240  58.50      21.177        .008        .927
                                       โครงการ

                                       หมู่บ้านที่ไม่ได้เข้าร่วม  50  58.79    12.806
                                       โครงการ
                                       Total                   290  58.55      19.967

                *. The mean difference is significant at the 0.05 level.

                       จากตารางที่ 8 ยืนยันว่าแม้โครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงจะสามารถสร้างความ

               เปลี่ยนแปลงความรู้แก่กลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ได้ ทว่าไม่เสมอไป จำเป็นต้องศึกษาเงื่อนไขปัจจัยอื่นๆประกอบกัน

               อย่างไรก็ตาม เมื่อจำแนกพื้นที่ออกตามระดับความเปลี่ยนแปลงและวิเคราะห์อีกครั้งพบว่าระดับความรู้มี

               ความสัมพันธ์กับระดับความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่อย่างมีนัยสำคัญ โดยผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่ากลุ่มพื้นที่ที่มีความ

               เปลี่ยนแปลงระดับ“มาก” จะมีความเปลี่ยนแปลงในด้านอื่นๆตามไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นความตระหนักรู้ในศักยภาพ
               ของตนในการสร้างความเปลี่ยนแปลง การตระหนักถึงคุณค่าคะแนนเสียงของตน มีการรับรู้ถึงการซื้อเสียงที่ลดลง

               และมีการรับรู้ถึงบรรยากาศการหาเสียงเลือกตั้งที่มีความปรองดองสมานฉันท์ไม่โจมตีกันที่เพิ่มมากขึ้น โดย

               ภาพรวมเมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนที่เปลี่ยนแปลงไป กับระดับความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ใน

               ภาพรวม ด้วยสถิติ One Way Anova พบว่า ระดับความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่สัมพันธ์กับความรู้ที่เปลี่ยนแปลงไป

               ของกลุ่มตัวอย่างอย่างมีนัยสำคัญ ดังตารางที่ 9




                                                                                                           51
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69