Page 71 - b29420_Fulltext
P. 71
บวกมากกว่าพื้นที่กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ผ่านเกณฑ์จำนวนน้อย ไม่ว่าจะเป็นความรุนแรงในการเลือกตั้งที่ลดลงไป
มากกว่า การรับรู้เรื่องการซื้อเสียงที่ลดลงไปมากกว่า และความรู้สึกถึงเสรีภาพในการเลือกและความสมานฉันท์
ภายหลังการเลือกตั้งที่มีมากกว่า อย่างไรก็ตาม ไม่พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างพื้นที่ที่กลุ่ม
ตัวอย่างมีความรู้ผ่านเกณฑ์จำนวนมาก ปานกลาง น้อย ในเรื่องของการทำลายป้ายหาเสียง การมีผู้สมัครหน้าใหม่
ในชุมชน การเลือกผู้นำตามคำแนะนำของญาติ และการคุกคามภายหลังการเลือกตั้ง
2. เงื่อนไขปัจจัยที่ส่งเสริมหรือขัดขวางต่อกระบวนการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง
การศึกษาเงื่อนไขปัจจัยที่ส่งเสริมหรือขัดขวางต่อกระบวนการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง
ให้ประสบความเปลี่ยนแปลงแตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่ ในที่นี้กำหนดกรอบการพิจารณาไว้ 3 ด้านใหญ่ๆ คือ
1) เงื่อนไขด้านแกนนำและผู้เกี่ยวข้อง (actors) 2) เงื่อนไขด้านกระบวนการส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่
ซื้อสิทธิขายเสียง (process) และ 3) เงื่อนไขด้านวัฒนธรรมและผลประโยชน์ (interest & culture) โดยเพื่อให้
ทราบว่ามีเงื่อนไขปัจจัยใดบ้างที่ส่งเสริมหรือขัดขวางต่อการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงในพื้นที่
งานชิ้นนี้จึงเก็บข้อมูลควบคู่กันไประหว่างการเก็บแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ ในที่นี้ขอนำเสนอข้อมูลจาก
แบบสอบถามก่อนเพื่อชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างเงื่อนไขปัจจัยด้านต่างๆกับระดับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ในระดับพื้นที่ จากนั้น จึงนำเสนอรายละเอียดกระบวนการและกิจกรรมต่างๆของโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และ
ไม่ซื้อสิทธิขายเสียงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ตามลำดับ
การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายหลังดำเนินโครงการเลือกตั้ง
สมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงกับเงื่อนไขปัจจัยต่างๆ ในที่นี้ประกอบด้วยตัวแปร 10 เรื่อง คือ 1) ความรู้ความ
เข้าใจต่อโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง 2) การเข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์เลือกตั้งสมานฉันท์
และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง 3) ความตระหนักในศักยภาพของตนว่ามีทางเลือกในการเลือกผู้แทน 4) การตระหนักใน
คุณค่าคะแนนเสียงของตนเองในการสร้างความเปลี่ยนแปลง 5) อิทธิพลของญาติและหัวคะแนนที่มีผลต่อการ
ตัดสินใจ 6) อิทธิพลของทรัพย์สินต่อการตัดสินใจ 7) ความเข้าใจต่อวัฒนธรรมรับเงินแต่ไม่กาเป็นเรื่องผิดบาป 8)
ความเข้าใจต่อวัฒนธรรมที่มองว่าการเมืองเป็นเรื่องที่ต้องปกปิดไม่สมควรพูดในที่สาธารณะ 9) การติดตาม
นโยบายหาเสียงของผู้สมัคร และ 10) การร่วมรณรงค์โดยทั่วไป การวิเคราะใช้สถิติ Regression ในการหาค่า
สหสัมพันธ์แบบถดถอยระหว่างความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายหลังดำเนินโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อ
สิทธิขายเสียงกับเงื่อนไขปัจจัยข้างต้น ผลการวิเคราะห์พบว่ากลุ่มตัวแปรทั้ง 10 ข้อข้างต้นมีความสัมพันธ์กับระดับ
ความเปลี่ยนแปลงภายหลังดำเนินโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีค่า
Sig.= .000 มีค่าสหสัมพันธ์แบบถดถอยหรือค่า R = 78.950 และค่า F = 17.903 ดังตารางที่ 12
58