Page 75 - b29420_Fulltext
P. 75

กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มที่เข้าใจว่าการเลือกตั้งสมานฉันท์เป็นการเลือกตั้งที่ใช้ญาติพี่น้อง ใช้ความดี ดังบท

               สัมภาษณ์ของกลุ่มตัวอย่างรายหนึ่งที่ว่า “ผมคิดว่าการเลือกตั้งสมานฉันท์ก็คือการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ ไม่มีการซื้อ

               สิทธิขายเสียง น่าจะเป็นการเลือกตั้งที่ใช้กลุ่มมวลชน ที่เป็นญาติพี่น้องกัน” หรือ กรณีของนายแดงที่ชี้ให้เห็นว่า

               การเลือกตั้งสมานฉันท์คือ “การช่วยเหลือกัน คือแบบนี้ได้ไหม ไม่ต้องมีเรื่องมีราว” ด้านนายดำ มองว่าการ
               เลือกตั้งสมานฉันท์เป็น “การแข่งกันด้วยความดี สู้กันด้วยญาติพี่น้อง” ส่วนนางส้มโอมองว่าการเลือกตั้งสมานฉันท์

               คือ “การมีผู้ใหญ่ที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือเป็นกลไกที่จะเคลียร์ตรงนี้” เป็นต้น


                       กลุ่มที่ 3 คือ กลุ่มที่เข้าใจว่าการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงเป็นโครงการที่ผู้สมัครจะ

               ไม่มีการแจกเงินเพื่อแลกกับคะแนนเสียงอีกต่อไป ดังบทสัมภาษณ์ของกลุ่มตัวอย่างรายหนึ่งที่ว่า “ผมมองว่าการ

               เลือกตั้งสมานฉันท์เป็นการเลือกตั้งที่ไม่ต้องใช้เงินมาก ไม่ใช้เงินซื้อเสียง” ซึ่งสอดคล้องกับบทสัมภาษณ์ของกลุ่ม

               ตัวอย่างอีกรายหนึ่งที่ระบุว่าการเลือกตั้งสมานฉันท์คือ “ไม่เอาเงินเป็นตัวตั้ง แต่เอาความดีเป็นตัวตั้ง ไม่แจกเงิน”
               ซึ่งเมื่อสอบถามว่าคนในชุมชนคิดอย่างไรต่อเรื่องการรณรงค์ไม่ให้มีการซื้อสิทธิขายเสียง ไม่มีการแจกเงินเพื่อแลก

               คะแนนเสียง กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้นำชุมชนรายหนึ่งกล่าวว่า เมื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งในชุมชนทราบเรื่องนี้ก็มีท่าทีต่อ

               โครงการแตกต่างกันออกไป ในส่วนของตนนั้นภายหลังนำโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงไป

               แนะนำให้แก่คนในชุมชนทราบพบว่าบางส่วนไม่ยอมรับไม่เห็นด้วยและไม่เข้าใจ “เขามีโครงการนี้มานะ โครงการ

               สมานฉันท์เขาไม่ให้แจกเงินแจกทอง ชาวบ้านก็จะว่า ‘มันแม่นบ่อน้อ เฮ็ดเล่นแม่นบ่อ’ ” ด้านผู้นำชุมชนอีกผู้หนึ่ง
               กล่าวไปในทิศทางเดียวกันว่าก็มีอยู่เหมือนกันที่ผู้ที่เข้าร่วมเวทีแต่ไม่เห็นด้วยกับการทำโครงการ “มีไม่เห็นด้วยกับ

               โครงการประมาณ 10% ก็อยากได้เงิน เคยได้ทำไมถึงไม่ได้”


                       กลุ่มที่ 4 คือกลุ่มที่เข้าใจว่าการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงเป็นโครงการที่ทุกฝ่ายมี

               ส่วนร่วมเพื่อการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม ลดความขัดแย้งไม่แบ่งฝักแบ่งฝ่ายชุมชน ซึ่งกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่เข้าใจ
               ความหมายและความสำคัญของโครงการได้อย่างถูกต้องใกล้เคียงกับนิยามของการเลือกตั้งสมานฉันท์ที่ผู้วิจัย

               กำหนดไว้มากที่สุด ทว่ามีเพียงส่วนน้อย ดังเช่น นายเด่น ที่ระบุถึงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง

               หมายถึง “ก่อนเข้าร่วมโครงการคิดว่าการเลือกตั้งเชิงสมานฉันท์ก็คือการเลือกตั้งที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของ
               ผู้สมัคร ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่นให้การเลือกตั้งเป็นไปตามระเบียบ และให้ลดการซื้อสิทธิ

               ขายเสียงในระดับพื้นที่ และนำเสนอแนวทางนโยบาย ให้เกิดการมีส่วนร่วมระหว่างผู้สมัครและเปิดโอกาส หลังเข้า
               ร่วมโครงการก็เหมือนที่คิดนะ เพราะว่าเกิดการมีส่วนร่วมมีเวทีให้ผู้สมัครได้มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนและได้แสดง

               ความเห็นให้ประชาชนได้เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน” ขณะที่ ผู้นำชุมชนอีกรายหนึ่งกล่าวว่าการเลือกตั้ง

               สมานฉันท์คือ “การสร้างการเมืองที่ไม่โฆษณาหาเสียงโจมตีว่ากล่าวกัน ถ้าเราทำการเมืองแบบนี้การทะเลาะกันก็







                                                                                                           62
   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80