Page 79 - b29420_Fulltext
P. 79

5.การมอบทรัพย์สินเงินทองและของกำนัลของผู้สมัคร มีผลต่อการตัดสินใจเลือกผู้สมัครของท่านมากน้อยเพียงใด
                  การดำเนิน     หมู่บ้านเป้าหมาย   มาก       %     ปานกลาง     %      น้อย   %       ไม่มีผล   %
                  โครงการ    /ระดับความเปลี่ยนแปลง
                             (ระดับน้อย)

                             อ.โพนทอง บ้าน 8        1       10%       6       60%      3     30%      0       0%
                 พื้นที่ข้างเคียง   อ.เมืองร้อยเอ็ด บ้าน 2
                             (ระดับน้อย)
                             อ.โพนทราย บ้าน 2       0       0%        6       60%      4     40%      0       0%
                             (ระดับน้อย)
                             อ.เมืองร้อยเอ็ด บ้าน 2   0     0%        0       0%       3     30%      7       70%
                             (ระดับน้อย)
                             อ.หนองฮี บ้าน 2        0       0%        8       80%      1     10%      1       10%
                             (ระดับน้อย)
                             อ.สุวรรณภูมิ บ้าน 2    0       0%        1       10%      0      0%      8       80%
                             (ระดับน้อย)

                       จากตารางที่ 14 จะเห็นได้ว่าทรัพย์สินเงินทองยังคงมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง แต่ใน

               ระดับที่แตกต่างกัน จากข้อมูลจะเห็นได้ว่าพื้นที่ที่มีความเปลี่ยนแปลงระดับน้อย ผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ยอมรับ

               ว่าเงินมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกระดับปานกลาง-น้อย ส่วนพื้นที่ที่มีความเปลี่ยนแปลงในระดับปานกลางจะมี

               สัดส่วนของผู้ที่รู้สึกว่าเงินไม่ได้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเพิ่มมากขึ้น ขณะที่พื้นที่ที่มีความเปลี่ยนแปลงระดับมากจะ

               มีสัดส่วนของผู้ที่ตอบว่าเงินมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจอยู่ที่ระดับ น้อย-ไม่มีผลต่อการตัดสินใจสูงที่สุด


                       ในที่นี้ต้องแยกระหว่างการใช้เงินเพื่อ ‘ซื้อเสียง’ กับการใช้เงินเพื่อการ ‘หาเสียง’ และจำเป็นต้องย้ำว่า
               ข้อมูลจากแบบสอบถามนั้นเน้นไปที่การมอบเงินเพื่อแลกกับคะแนนเสียงเป็นหลัก ซึ่งข้อมูลในส่วนนี้จึงสะท้อนให้

               เห็นว่าในความเป็นจริงแล้วในการเลือกตั้งยังคงไม่อาจปฏิเสธเหตุการณ์ที่มีการมอบเงินเพื่อแลกกับคะแนนเสียงได้

               และที่สำคัญเงินยังคงมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของคนบางกลุ่ม โดยที่แนวโน้มจะเกิดขึ้นกับพื้นที่ที่มีความ

               เปลี่ยนแปลงด้านความรู้และการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆในระดับน้อย รวมไปถึงพื้นที่ข้างเคียงที่ไม่ได้เข้าร่วม

               โครงการ อย่างไรก็ตาม แนวโน้มจะมีลักษณะดีขึ้นในพื้นที่ที่มีความเปลี่ยนแปลงในระดับปานกลางถึงมาก


                       ข้อมูลจากการสัมภาษณ์สนับสนุนข้อมูลจากแบบสอบถามในเรื่องของการใช้เงินเพื่อแลกกับคะแนนเสียง
               ยกตัวอย่างเช่น ปลัดอำเภอรายหนึ่งจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระบุว่า “เรื่องซื้อเสียงเดี๋ยวนี้มันก็จะแนบเนียนขึ้น

               เพราะมีระบบการตรวจสอบด้วย และเราก็ไม่ค่อยเห็นการฟ้องกัน เพราะถ้าฟ้องกันก็ต้องมีหลักฐาน”

               อย่างไรก็ตาม ปลัดอำเภอรายเดิมชี้ให้เห็นว่าบรรยากาศการแจกเงินเพื่อแลกกับคะแนนเสียงในวันเลือกตั้งลดลง

               โดยสังเกตุได้จากจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งตั้งแต่ช่วงเช้า โดยไม่รอว่าจะมีผู้สมัครคนไหน



                                                                                                           66
   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84