Page 83 - b29420_Fulltext
P. 83

ไม่ได้ เงินปัญหาใหญ่เลย” ขณะที่ผู้นำชุมชนแห่งหนึ่งกล่าวว่า “ผมก็เป็นคนใหม่ ผมก็บอกตรงๆว่าไม่มีเงิน

               แต่สุดท้ายก็ต้องมีติดปลายนวม เลี้ยงดูทีมงาน” เป็นต้น
                       อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้การใช้เงินเพื่อแลกคะแนนหรือการซื้อเสียงยังไม่หมดไปก็คือ ความต้องการ

               ‘ชัยชนะ’ ส่งผลให้สุดท้ายแม้จะมีการพูดคุยกันแล้วว่าจะไม่มีการแจกเงินแต่เมื่อนาทีสุดท้ายมีการปั่นราคากัน

               เกิดขึ้นหากต้องการชัยชนะในครั้งนี้ผู้สมัครก็ต้องยอมลงเงิน ดังบทสัมภาษณ์อดีตผู้นำชุมชนรายหนึ่งที่เล่าให้ฟังถึง
               บรรยากาศการหาเสียงเลือกตั้งในพื้นที่ของตนว่า การใช้เงินเพื่อแลกกับคะแนนเสียงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงและพบ

               เห็นกันโดยทั่วไป แต่ว่าการซื้อเสียงภายหลังจากทำโครงการลดลง ที่สำคัญพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ที่ผู้สมัครมีการพูดคุยกัน
               และตอนแรกตกลงกันว่าจะให้ผู้สมัครคนหนึ่งรับหน้าที่ไปก่อนโดยไม่ต้องมีการแข่งขัน แต่สุดท้ายคู่แข่งเปลี่ยนใจลง

               สมัครในชั่วโมงสุดท้าย ทำให้ต้องแข่งขันกัน โดยช่วงแรกต่างฝ่ายต่างตกลงกันจะไม่แจกเงิน แต่สุดท้ายไปเสีย

               เพราะมีการปั่นราคาก่อนปิดหีบเลือกตั้ง “... แต่ก่อนก็การแข่งขันใช้เงินหลาย แต่ว่าหลังๆ ไม่ค่อยได้ใช้เงินมาก
               เท่าไหร่ การเลือกตั้งพอคุยกันได้ก็คุยกันไป ที่นี่แทบไม่มีเลย แต่ที่ต้องมีการแข่งเงินกันก็เพราะวันสุดท้ายเขาไป

               สมัคร ตอนแรกคิดว่าจะไม่มีแข่งกันแล้ว มาเอาชั่วโมงสุดท้าย สมัครเพิ่มอีกคนหนึ่ง ก็เลยต้องแข่ง แต่ตอนแรกไม่มี
               แจกเลย จนวันลงคะแนนนั่นล่ะทางหัวคะแนนก็ว่าเขาลงแล้ว ร้อยสองร้อยก็ปั่นราคากัน อีกฝั่งก็เตรียมสู้อยู่แล้ว

               สุดท้ายก็เลยต้องลงสู้กันไป”

                       ขณะที่ผู้ทรงคุณวุฒิในชุมชนเป้าหมายแห่งหนึ่งเล่าให้ฟังถึงบรรยากาศการหาเสียงเลือกตั้งว่า“ผู้สมัครก็
               เตรียมพร้อมอยู่แล้วสองฝ่ายเป็นปกติธรรมดา ถ้าคุณลงผมก็ลงได้ แต่พอเอาเข้าจริง ก็ไม่รู้ใครลงก่อน ก็ไม่รู้ว่าเป็น

               กองเชียร์ไหมที่มายุว่า สู้มันๆ ปั่นราคากัน ว่าทางนู้นเอาแล้ว ... ถ้าเราไม่จ่าย ก็เสียขวัญกองเชียร์ โอวตายแล้ว จะ

               เอายังไร จะต้มกันหรือเปล่า กองเชียร์ด่าแล้ว ทำเล่นหรอไม่สมศักดิ์ศรีแล้ว”
                       อดีตผู้สมัครรายหนึ่งกล่าวถึงบรรยากาศที่เกิดขึ้นภายหลังจากมีประกาศเลือกตั้งไปในทำนองเดียวกันว่า

               “ถ้ามีการแข่งขันปุ๊บเขาจะขอสองฝั่งนะ ถ้าอีกฝั่งไม่ให้จะเป็นข้อเปรียบเทียบกันเลยนะ คือเขาจะมีอะไรสักอย่างจะ
               ขอจากเรา ... หัว 20-100 แต่ว่าชุมชนเราน้อย การให้จริงๆ จะเป็นแบบอัตโนมัติ สมมติว่ามีการแข่งขันกันแล้ว

               หัวคะแนนเขาจะตั้งไว้แต่ไม่ตายตัว หัวคะแนนเขาอาจจะเป็นหัวคะแนนให้เราด้วยเขาด้วย ถ้าอีกฝ่ายให้เขาจะบอก

               เราว่าเขาให้แล้วนะร้อยนึง เราก็ต้องตามเขา คือมันไม่ใช่เราเองที่จะให้ แต่ว่าคนในชุมชนปั่นเอาเองว่าจะเอา
               เท่าไหร่ หัวคะแนนจะคุยกันและเหยียบเรือสองแคม ก็จะเป็นโค้งสุดท้าย จนปิดหีบ ก็ยังมีอยู่เลย”

                       ด้วยเหตุนี้ ทางอดีตผู้สมัครหลายรายซึ่งรวมไปถึงผู้นำชุมชนส่วนใหญ่จึงมองว่า โครงการนี้เป็นโครงการที่ดี

               มาก แต่ถ้าให้ประสบความสำเร็จมากกว่านี้ต้องเข้ามาก่อนจะมีการประกาศเลือกตั้ง เข้ามาก่อนที่ผู้นำชุมชนจะ

               หมดวาระ เพื่อเปิดพื้นที่ให้เกิดการเจรจาก่อนหรือจำกัดจำนวนผู้สมัครลงให้เหลือเพียงคนเดียวไร้คู่แข่ง เพื่อตัด
               ปัญหาการแข่งขัน เพราะหากมีการแข่งขันเมื่อใดเมื่อนั้นย่อมต้องมีการเตรียม ‘กระสุน’ (เงิน) เอาไว้ยิงกัน ต่อให้

               ต่างฝ่ายจะประกาศว่าไม่จ่ายเงินแต่สุดท้ายผู้สมัครอาจถูกปั่นราคาโดยกองเชียร์ ทำให้สุดท้ายก็ต้องจ่าย







                                                                                                           70
   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88