Page 81 - b29420_Fulltext
P. 81

ความขอบคุณที่คนในชุมชนไว้วางใจและยกตำแหน่งให้ เป็นต้น ดังที่อดีตผู้สมัครรับเลือกตั้งคนหนึ่งกล่าวไว้ว่า

               “บางทีก็จะมีการบริจาคแสนนึงให้วัดให้หมู่บ้าน ให้ส่วนกลางหมู่บ้าน” ขณะที่ อดีตผู้สมัครรับเลือกตั้งอีกคนหนึ่ง

               กล่าวว่า “ชาวบ้านเขารู้กันหมดคนที่ลงสมัคร เงินไม่มากาไม่เป็นคำนี้ก็ยังใช้ได้อยู่”

                       เหตุผลหนึ่งที่ทำให้การจ่ายเงินยังคงอยู่ก็คือวัฒนธรรม อดีตผู้สมัครและอดีตผู้นำหลายคนให้ความเห็นไว้

               ค่อนข้างตรงกันว่า เรื่องการจ่ายเงินนั้นเป็นวัฒนธรรมของอีสาน เพราะผู้นำในมุมมองของชาวอีสานจะต้องเป็น

               ผู้นำที่มีน้ำใจพึ่งพาได้ การหยิบยื่นทรัพย์สินเงินทองและสิ่งของเล็กๆน้อยๆให้แก่ชาวบ้านเมื่อยามต้องการนับเป็น

               อีกช่องทางหนึ่งสำคัญที่จะแสดงให้คนในชุมชนรับรู้ถึงความมีน้ำใจและความพร้อมในการเป็นผู้นำ ดังที่ผู้นำชุมชน

               คนหนึ่งกล่าวไว้ว่า “มันก็เป็นพื้นฐานมาแต่ไหนแต่ไรนะ เพียงแต่ว้าถ้าเราไม่พร้อม เราไม่มีให้ เราก็คงไม่เข้ามา คือ

               ชาวบ้านเขามองอย่างนี้ คือก็รักอยู่นะแต่คงไปด้วยกันไม่ได้ กัดก้อนเกลือกิน ผมมองว่าเป็นการแสดงน้ำใจ

               มากกว่า”

                       ขณะที่ผู้นำชุมชนอีกคนหนึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการใช้เงินเพื่อหาคะแนนว่า “บางครั้งการนับ

               ถือของคนก็มีส่วนอยู่ คนจนฐานะ ทำอะไรก็ไม่เวิค พูดอะไรก็เข้าพวกเขาไมได้ บทบาทในคำพูดคำจาก็ไม่น่านับถือ

               เท่าไหร่ มีเงินนับว่าเป็นน้อง มีทองนับว่าเป็นพี่ คำนี้ยังใช้ได้อยู่ ระบบอุปถัมภ์ก็ยังใช้อยู่ สังคมไทยมีอยู่ สำหรับผมก็

               คอยช่วยเหลือ คือ ก็ให้คำปรึกษา อย่างนี้เรียกว่าความผูกพัน  คือต้องกล้าเสียสละ กล้าดูแลเขา สิ่งดีๆ ที่เราทำให้

               เขาจะจำไม่ลืม” เช่นเดียวกันกับอดีตผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้หนึ่งที่กล่าวว่า “เศรษฐกิจก็สำคัญ มันอธิบายความพร้อม
               การที่ลงพื้นที่การช่วยเหลือชาวบ้าน เขาถามก็จะถามว่าจะเอาอะไรมาช่วย จะหวังพึ่งรัฐ รัฐก็ไม่มีเงิน แต่ว่าคนนั้นก็

               ต้องมี ไม่ได้หมายความว่ามีเงินไปแจก แต่ว่าเป็นการช่วยเหลือ อย่างเราจะซื้อหรีดสักอันก็ต้องใช้เงิน แต่ถ้าบอกว่า

               ไม่มีเงิน ก็ไม่ได้ พูดไม่ได้” ขณะที่อดีตผู้สมัครอีกรายหนึ่งกล่าวแสดงความอึดอัดใจว่า “เรื่องเงินผมบอกตรงๆ มัน

               ไม่มีใครอยากจ่ายหรอก แต่ว่ามันเป็นไปได้น้อยมาก ไม่ทางหนึ่งทางใด ค่ารถก็ต้องจ่ายแล้ว รถแท็กซี่ 1 คัน 2 คน

               ก็ห้าพัน หัวละพัน ... หลักพัน เฉพาะผมก็สองแสนแปดเลยนะ แต่ผมก็อาศัยลูกช่วยไม่ได้ก็แล้วไป”

                       จากการสัมภาษณ์ทำให้เราจำเป็นต้องเข้าใจการใช้เงินในการเลือกตั้งอย่างละเอียดและรอบคอบ โดย

               จำเป็นต้องแยกแยะระหว่างจ่ายเงินเพื่อ ‘ซื้อเสียง’ กับจ่ายเงินเพื่อ ‘หาเสียง’ ออกจากกัน เพราะผลจากผลการ

               สัมภาษณ์ชี้ให้เห็นว่าการใช้เงินเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการ ‘หาเสียง’ หรือหาคะแนนนิยมและเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมา

               นานแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้บริบทของพื้นที่เป้าหมายซึ่งเป็นภาคอีสานการใช้เงินทางการเมืองมีหลาย

               ลักษณะ ไม่ว่าจะเป็นไปเพื่อเปิดตัวเข้าสู่การเมือง การสร้างตัวตนให้เป็นที่รู้จักแก่สังคมโดยการบริจาคช่วยเหลือ

               กิจกรรมต่างๆ การใช้เงินเพื่อสร้างเครือข่ายและสร้างทีมงาน การใช้เงินในทางการเมืองสำหรับผู้มีสิทธิเลือกตั้งจึง

               ไม่ได้มีความหมายตรงไปตรงมาในการจ่ายเงินเพื่อซื้อคะแนนเสียงเท่านั้น ดังที่อดีตผู้สมัครรายหนึ่งกล่าวไว้ว่า




                                                                                                           68
   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86