Page 76 - b29420_Fulltext
P. 76

จะไม่สมานฉันท์ เพราะฉะนั้นเมื่อผ่านกระบวนการที่ประชาชนตัดสินใจไปแล้ว ก็ให้ช่วยกันคิดช่วยกันทำ เป็น

               การเมืองสมานฉันท์ ไม่แบ่งฝักแบ่งฝ่าย”
                       ขณะที่ผู้นำชุมชนอีกรายหนึ่งกล่าวถึงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงว่า “ตอนโครงการยัง

               ไม่เริ่มต้น เราก็คิดว่ามันจะได้หรอ แต่พอได้มาศึกษาโครงการนี้จริงๆแล้ว ประชาธิปไตยต้นแบบชุมชนมันทำให้พี่

               น้องประชาชนสมานฉันท์กันไม่แบ่งฝักฝ่ายอยู่ในเกมกีฬารู้แพ้ รู้ชนะ ให้อภัย จึงเป็นโครงการที่ควรให้การสนับสนุน
               ควรต่อยอดไปเรื่อยๆ...อยากให้มีการลงพื้นที่ อยากให้สถาบันหรือผู้จัดทำโครงการลงพื้นที่พบพี่น้อง จัดกลุ่มเสวนา

               เรื่องของการเลือกตั้งไปเรื่อยๆ ไม่ให้ขาดตอน เพื่อเราจะได้ต่อยอดพี่น้องจะได้กลับมาใช้บทเรียนตัวนี้ใหม่ เราต้อง
               ทำไปเรื่อยๆ เป็นการสร้างให้เรามีสำนึก” ขณะที่ อดีตผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ใหญ่บ้านผู้หนึ่ง สรุปการเลือกตั้ง

               สมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงตามความเข้าใจของเขาสั้นๆว่าการเลือกตั้งสมานฉันท์คือ “การเล่นไปตามเกม

               ว่าอย่างไหนอย่างนั้น ไม่เล่นนอกกติกา ทำให้สมศักดิ์ศรี”
                       ข้างต้นเป็นความเข้าใจเรื่องการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงของกลุ่มตัวอย่างในรายละเอียด

               ซึ่งแสดงให้เห็นว่า แม้ความรู้จะเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะส่งผลต่อความสำเร็จของการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่

               ซื้อสิทธิขายเสียง อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงประการหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือกลุ่มตัวอย่างจากพื้นที่เป้าหมายส่วนใหญ่

               ยังเข้าใจการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงไม่ถูกต้องครบถ้วนนัก เพราะโดยนิยามของงานวิจัยชิ้นนี้
               การเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงนั้นเป็นการเลือกตั้งที่ไม่ปฏิเสธการแข่งขัน แต่สนับสนุนให้ทุกฝ่าย

               แข่งขันกันอย่างสร้างสรรค์ การหาเสียงตั้งอยู่บนฐานของนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนให้ดีขึ้นไม่ใช่การ

               โจมตีเรื่องส่วนตัวของผู้สมัครคนอื่นเพื่อลดทอนคะแนนเสียง ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งหรือแบ่งฝักแบ่งฝ่าย ที่

               สำคัญคือไม่มีการซื้อสิทธิขายเสียง และยึดหลักความรู้ความสามารถ ประโยชน์สุขส่วนรวมและยอมรับผลแพ้ชนะ

               ภายหลังการเลือกตั้ง กล่าวคือ ขณะที่กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นแกนนำส่วนใหญ่มองว่าการเลือกตั้งสมานฉันท์ควรเป็น

               การเลือกตั้งที่ไม่มีการแข่งขันกันตั้งแต่ต้น ด้านผู้สมัครรับเลือกตั้งและผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่มองว่าเป็นการ

               เลือกตั้งที่ไม่ใช้เงินซื้อเสียง กลุ่มตัวอย่างในพื้นที่เป้าหมายยังมีเพียงจำนวนน้อยที่มองว่าการเลือกตั้งสมานฉันท์เป็น
               กระบวนการหาเสียงอย่างสร้างสรรค์และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องต่อ

               โครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงจึงเป็นอีกเงื่อนไขที่ส่งผลให้พื้นที่ที่มีความเปลี่ยนแปลงในระดับ

               มากภายหลังเข้าร่วมโครงการยังมีอยู่เป็นจำนวนน้อย เพราะการเปลี่ยนแปลงด้านความรู้เป็นจุดตั้งต้นสำคัญที่จะ

               นำไปสู่ความตระหนักรู้ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการเปลี่ยนแปลงด้านบรรยากาศการเลือกตั้งในเวลาต่อมา


                       นอกจากปัจจัยด้านความรู้แล้ว ‘ญาติ’ พี่น้องยังคงเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจทางการเมืองใน

               ระดับท้องที่และท้องถิ่นอย่างมาก กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่กล่าวถึงเหตุผลในการตัดสินใจของตนว่าส่วนหนึ่งเพราะ
               เป็นญาติพี่น้องกัน โดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ลำดับถึงเหตุผลที่ใช้ในการเลือกผู้แทนของตนว่าความเป็นญาติพี่

               น้องกันคือเหตุผลอันดับแรก รองลงมาคือเรื่องผลงานและความดี ส่วนเงินถือว่าเป็นอันดับท้ายๆ



                                                                                                           63
   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81