Page 77 - b29420_Fulltext
P. 77

ยกตัวอย่างเช่น นางแดงผู้มีสิทธิเลือกตั้งในพื้นที่เป้าหมายแห่งหนึ่งกล่าวกับผู้วิจัยว่า “คนที่นี่ก็ญาติพี่น้อง

               กันทั้งนั้น ใครญาติพี่น้องเยอะกว่ากันก็ชนะไป มันเป็นแบบนี้ เงินนี่มีไม่มีไม่เป็นไร ญาติพี่น้องกันก็ต้องช่วยเหลือ

               กัน” ขณะที่นายดำกล่าวว่า “ก็นั่นล่ะ คนนั้นเป็นหลานคนนี้เป็นญาตินั้นนี้ ชุมชนมันมีแค่นี้ ใครญาติเยอะก็ชนะ

               เงินก็มีบ้าง แต่ญาติเยอะสำคัญที่สุด” นางลำเจียกกล่าวไปในทิศทางเดียวกันว่า “ที่นี่จะมีตระกูลนักการเมืองใหญ่ๆ
               อยู่ไม่กี่ตระกูลส่วนใหญ่คนที่มาจากข้างนอกจะไม่ได้นะ สมัครไปก็ไม่ได้ลงเงินเท่าไหร่ก็ไม่ได้เพราะไม่มีญาติ เขารับ

               แต่เขาไม่เลือก เพราะเขาเป็นเครือข่ายกันหมด ถึงแม้ไม่ใช่ญาติสนิทแต่ก็เป็นฝั่งที่ช่วยเหลือกันมา เขาก็จะวัดกันที่

               ตรงนั้น เขาเรียกว่าว่าวัดบารมี”


                       ด้านผู้สมัครรับเลือกตั้งก็กล่าวไปในทิศทางเดียวกันว่าปัจจัยเรื่องญาติมิตรเพื่อนฝูงมีส่วนสำคัญต่อการ
               ตัดสินใจลงเล่นสมัครรับเลือกตั้งของพวกเขาอย่างมาก พวกเขากล่าวว่าพวกเขาจะไม่ลงสมัครหากมีญาติน้อยไม่มี

               ผู้ใหญ่สนับสนุนหรือยังไม่เป็นที่รู้จักมากพอ “ญาติมีส่วนสำคัญ ก่อนอื่นเขาจะประเมินญาติพี่น้องก่อนว่าเขาจะลง

               เห็นว่าไง หรืออาจจะเป็นญาติที่จะมาช่วยและมวลชนก็จะมาสนับสนุน ถ้านับญาติชนะ ก็อาจจะได้ชนะสูงเลย”
               อดีตผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งรายหนึ่งกล่าวไปในทิศทางเดียวกันว่าการลงสมัครรับเลือกตั้งจะต้องเริ่มต้นจากการนับ

               ญาติก่อน “ถ้าเราไม่มีญาติ ทีมเราก็ต้องมีญาติ ผู้ใหญ่ที่มาสนับสนุนเราก็ต้องมีญาติ ญาติสำคัญที่สุด” ด้านผู้นำ

               ชุมชนอีกผู้หนึ่งกล่าวว่า “ญาติพี่น้องก็มีส่วนยังไงพี่น้องก็ต้องดูแลกัน พี่น้องไม่ดูแลกันมันก็มี แต่โบราณเขาบอกว่า
               เลือดข้นกว่าน้ำ แต่ไม่ได้หมายความว่าคนที่ไม่มีญาติจะไม่ได้รับเลือกนะ” อดีตผู้สมัครรับเลือกตั้งอีกผู้หนึ่งกล่าว

               ด้วยความรู้สึกอึดอัดใจว่า “ถ้าได้แข่งกันแล้วก็นับเลยอีกกี่วันกว่าจะเลือกตั้ง ทีนี้ปัญหามาแล้ว คือ พี่น้องอยู่ที่ไหน
               ไม่อยากให้พี่น้องแพ้ก็ต้องมาช่วยกัน ต่างจังหวัดหัวเท่าไหร่ประชากรมีเท่าไหร่ นับใส่กันแล้ว” เป็นต้น

                       จากบทสัมภาษณ์ข้างต้นจะเห็นได้ว่าญาติยังคงเป็นเงื่อนไขสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกผู้แทน

               อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาถึงรายละเอียดจะพบได้ว่าความเป็นญาติแม้จะเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญแต่ไม่ได้

               หมายความว่าความเป็นญาติจะเป็นเงื่อนไขผูกพันที่ทำให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งตัดสินใจเลือกผู้แทน ยังมีปัจจัยอื่นๆอีกที่
               ใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกผู้แทน นั่นคือปัจจัยเรื่องความดี ผลงานและความช่วยเหลือที่ผู้สมัครเคยมอบให้ใน

               อดีต ดังที่ผู้นำชุมชนผู้หนึ่งกล่าวว่า “ในการเลือกผู้แทน เขาจะใช้หลักในการพิจารณาญาติพี่น้องยังมีส่วนในการ

               ตัดสินใจเลือก ปัจจุบันก็ยังมีส่วนมาก แต่สิ่งสำคัญคือตัวบุคคลที่ประชาชนจะดู ถ้าเกิดคู่แข่ง ในการเลือกตั้งเขาจะ

               ดูคุณลักษณะของคนที่จะมาเป็นตัวแทน เขาจะดูนโยบายที่จะพัฒนาเปลี่ยนแปลงอะไรในพื้นที่ของเขา” ขณะที่

               ผู้นำชุมชนอีกผู้หนึ่งก็กล่าวไปในทิศทางเดียวกันว่า ‘ฐานเสียง’ ในที่นี้ไม่ใช่แค่ญาติแต่ต้องมีผลงานต้องมีความดี

               รองรับด้วย “คนเรามันต้องมีฐานมาก่อน ก่อนที่จะทำตรงนี้ได้ ต้องอาสามาก่อน ไม่ใช่ว่าใครคิดจะสมัครก็สมัคร

               ต้องดูเครือญาติก่อน ถ้าไม่มีญาติพี่น้องยังไงก็ไม่ได้ แต่ถ้ามีความดีก็พอได้” อดีตผู้สมัครรับเลือกตั้งอีกผู้หนึ่งกล่าว
               ว่า “การเลือกตั้งเขาก็ดูคน ดูเงิน ฐานะการเงิน การงาน ญาติพี่น้อง ความรู้ประสบการณ์ คนดี คนที่ชาวบ้าน

               ยอมรับไม่โกงไม่กิน ถ้าคนไม่เคยลงมาก็ไม่เลือก ต้องบริจาคเป็นที่รู้จัก ก็ต้องมีทุนพอสมควร”



                                                                                                           64
   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82