Page 82 - b29420_Fulltext
P. 82

“การเลือกผู้ใหญ่บ้าน เขาจะห้ามจำหน่ายจ่ายแจก ตั้งแต่หมดวาระ นับแต่ตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้านว่างลง ต้องเลือก

               ใหม่ภายในสามสิบวันจะจำหน่ายจ่ายแจกไม่ได้ ตอนที่นายอำเภอประกาศให้มีการเลือกก็จะห้าม แต่ว่าก่อนหน้า

               นั้นเราหาเสียงล่วงหน้าปูพื้นมา ก็ถือว่ามีทุน...” ผู้สมัครบางรายกล่าวว่าเขาประกาศเปิดตัวมานานแล้วและใช้เงิน

               ไปในเรื่องต่างๆมากมายเพื่อเป็นการแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจเข้ามาเป็นผู้นำเข้ามาทำงานทางการเมือง

                       ที่เป็นเช่นนี้เพราะในทางการเมืองสำหรับชาวอีสานการเล่นการเมืองจะต้องมี ‘ทุน’ เพื่อแสดงให้เห็นว่าผู้

               นั้นสามารถเป็นที่พึ่งให้แก่คนในชุมชนได้และการจ่ายเงินยังเป็นอีกสัญลักษณ์หนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า ‘เอาจริง’ หรือ

               ก็คือมีความมุ่งมั่นตั้งใจในการทำงานการเมืองเพื่อสังคมชุมชน การลงเล่นการเมือง แต่ไม่ใช้เงิน จึงเข้าวลีที่ว่า

               ‘ขี้ถี่มักม่วน’ ซึ่งหมายถึงเป็นผู้ทึ่พึ่งพาไม่ได้และไม่เอาจริงเอาจัง ดังที่ผู้นำชุมชนผู้หนึ่งสะท้อนความเห็นต่อกรณี

               ดังกล่าวว่า“เขาจะพูดเลย ว่าถ้าไม่มีเงิน จะมาลงเฮ็ดหยัง ‘ขี่ถี่มักม่วน’ เขาจะหาว่า เฮ็ดเล่นบ่อนี่” ขณะที่ผู้นำ

               ชุมชนอีกคนหนึ่งก็กล่าวไปในทิศทางเดียวกันว่า “ตระหนี่ถี่เหนียว ขี่ถี่มักม่วน เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณเป็นแบบนั้น
               สมัครคนเดียวก็ไม่ได้ บางทีการใช้จ่ายก็เป็นการแสดงความพร้อมให้ชาวบ้านเห็นคือ ‘ใจ’ แต่ว่าสิ่งที่จะแสดงให้

               ชาวบ้านเห็นคืออะไรเพราะ ‘ใจ’ มันมองไม่เห็น” ด้านเจ้าหน้าที่อำเภออีกผู้หนึ่งสะท้อนความรู้สึกถึงวัฒนธรรมของ

               ผู้คนในแถบนี้ให้ฟังว่าการจ่ายเงินนั้นเป็นไปเพื่อสร้างความมั่นใจถึงการเอาจริง “จ่ายให้รู้ว่าไม่ได้ทำเล่น ๆ มันมี

               คำพูดว่า ‘รับเงินหมา กาเบอร์’ ... คือเขามีคนในใจอยู่แล้วนั่นแล่ะ” ขณะที่ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งอีกคนหนึ่งสะท้อน

               ความเห็นต่อการมอบเงินของผู้สมัครว่า “เจ้าจะเข้ามาซื่อๆแล้วได้เงินเดือนไม่ได้” ด้านผู้นำในชุมชนเป้าหมายอีก
               รายหนึ่งสะท้อนมุมมองต่อการใช้เงินในการเลือกตั้งว่า “ถ้าไม่มีการแข่งก็ต้องให้เงินอยู่ดี...กรณีที่เราถูกยกขึ้นมา ที่

               จะใช้เงินก็ค่าดูแลพี่น้อง ยังไงก็ต้องดูแล มันเป็นเหมือนยังไง จะให้เป็นเฉยๆ มันก็ไม่ได้หรอก” ขณะที่ผู้นำชุมชนอีก

               รายหนึ่งสะท้อนมุมมองไปในทิศทางเดียวกันว่า “ถ้าลงต้องใช้เงินแน่นอน จะมากน้อยก็ขึ้นอยู่กับศักยภาพของเรา

               มวลชนเราว่าเราทำให้เขาศรัทธาเราได้มากแค่ไหน แต่ผู้ใหญ่บ้านถ้าคุยกันได้ ก็ไม่ต้องเสียอะไรมาก ก็ดูแลกันใน

               ชุมชนก็ได้ ไม่อย่างนั้นก็หมดแสนขึ้น แสนนี่คือแค่ค่าดูแลยังไม่ได้เบอร์นะ” ด้านปลัดอำเภอเป้าหมายแห่งหนึ่ง

               ชี้ให้เห็นว่า “ค่านิยมของชาวบ้าน คือ ทุกข์ไม่ว่าดี ‘มีเงินเพิ่นว่าญาติพี่น้องลุงป้าจังว่าหลาน’ ประชาชนไปหา
               ผู้ใหญ่บ้านติดต่อบางทีก็อยากอาศัยรถผู้ใหญ่บ้านก็คิดว่าผู้ใหญ่บ้านก็ต้องพามา ธกส. ไม่มีรถ ก็ช่วยสงเคราะห์

               หน่อย มันเป็นความจำเป็นของผู้ใหญ่บ้านที่ต้องมีทุนบ้าง”


                       ด้วยเหตุผลเรื่องวัฒนธรรมในการแสดงออกถึงการพึ่งพาได้ของคนเป็นผู้นำข้างต้น นับเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้

               การเลือกตั้งจำเป็นต้องใช้เงินมากและมีส่วนสัมพันธ์กับจำนวนผู้สมัครหน้าใหม่ที่มีจำนวนไม่มากนักในการเลือก
               ตั้งแต่ละครั้ง ดังสะท้อนจากบทสัมภาษณ์ของอดีตผู้สมัครและผู้นำหลายคน อาทิ คุณสมัยกล่าวว่า “ถ้าไม่มีเงินก็ไม่

               กล้าลง ถ้าไม่มีเงินก็คิดว่าไม่น่าจะได้” ขณะที่คุณสมคิดกล่าวว่า “อย่างน้อยก็ต้องมีทุน ในโลกนี้ถ้าไม่มีเงิน ก็เป็น






                                                                                                           69
   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87