Page 84 - b29420_Fulltext
P. 84
อย่างไรก็ตาม การซื้อเสียงมีแนวโน้มก็ลดลงไปเรื่อยๆ ดังที่อดีตผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้หนึ่งสะท้อนให้ฟังว่า
ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ‘เงิน’ ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญหากต้องการลงการเมือง แต่ไม่เยอะเท่าสมัยก่อน “ความคิด
วัฒนธรรม คนรุ่นใหม่เดี๋ยวนี้ก็เปลี่ยนไปเยอะ ถามว่าเขาให้กันไหม ก็มีแต่ไม่ได้ใช้เงินแจก ส่วนใหญ่จะลงไปกับการ
‘ซื้อใจ’ มากกว่า อย่างพวกผมก็เลี้ยงดูทีมงานผม คนมาขอผมก็ให้ อย่างที่ผ่านมา อสม.เขาอยากได้เสื้อ เขามาขอ
เอง ก็จะบอกว่ากลุ่มเราขาดอันนั้นอยู่นะ แบบนี้ ส่วนเรื่องแจกมันก็ต้องดูคู่แข่ง ถ้าเขาลงเราก็เลี่ยงไม่ได้ เพราะมัน
ขึ้นเวทีแล้ว แต่ว่าเขาไม่ใช่แจกกันแบบแต่ก่อน มันก็ลดลงไปเยอะ” ขณะที่ ผู้นำชุมชนอีกรายหนึ่งสะท้อนให้ฟังว่า
“ผมคิดว่า ณ ปัจจุบันการเมืองมีการเปลี่ยนแปลง ผมว่าเงินนี่เป็นตัวสุดท้ายเลยในการพิจารณา จากที่ได้ดูมาและ
ประเมินจากตัวผมเอง ก็คือเงินมีส่วนสำคัญในอันดับสุดท้ายเลย ในการพิจารณาเลือกคนมาเป็นตัวแทน บางคน
อาจจะรับแต่ว่าเขาจะไปเลือกที่คนไม่ให้เงินคือเขาไม่ปฏิเสธ แต่เขามีคนที่จะเลือกอยู่แล้ว” ด้านอดีตผู้สมัครอีกราย
กล่าวถึงแนวโน้มของการใช้เงินเพื่อแลกกับคะแนนเสียงที่ลดลงไปว่า “พูดตรงๆว่าเงินไม่ใช่ปัจจัยให้เขาได้มีใจ
เบี่ยงเบนไปจากคนที่เขารักสักเท่าไหร่ไม่มี ยกเว้นคนที่อยู่กลางๆ”
ข้อมูลจากผู้สมัครข้างต้นสอดคล้องกับบทสัมภาษณ์ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในพื้นที่เป้าหมายที่แสดงให้เห็นว่า
วัฒนธรรมการรับเงินในปัจจุบันเพื่อแลกกับคะแนนเสียงเปลี่ยนไปอย่างมากจากอดีต ยายแตงกล่าวถึงตนและ
เพื่อนรุ่นเดียวกันว่า “แต่ก่อนคนเชื่อเวรกรรม คือ รับเงินมาแล้วก็ต้องกาให้เขาเพราะว่ากลัวบาป แต่เดี๋ยวนี้คนก็ฟัง
หูไว้หู ก็คือมีอยู่ในใจให้มาก็ไม่เลือก” ด้านนายสมชายกล่าวว่า “เรื่องให้เงินแล้วเลือกไม่ใช่แบบเดิม คือมันมี 3 ส่วน
30% คือ ฟังหูไว้หู 10% รับไม่เลือก แต่ว่า 60% ก็คือ รับแล้วจะเลือก ...คนเฒ่าคนแก่ ก็คือคนอีสานรับมาแล้ว
ไม่เลือกก็บาป ปัจจุบัน ก็ 60% ...”
ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ชี้ให้เห็นว่าแนวโน้มในการซื้อเสียงที่ลดลงมีความสอดคล้องกับหลายเรื่อง ทั้งเรื่อง
ของเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมา ส่งผลให้แต่ละฝ่ายสามารถจับตามองกันได้ตลอดเวลาเรื่องของความต้องการ
เปลี่ยนแปลง ความต้องการคนที่เข้ามาแล้วทำงานให้กับชุมชนได้ ต้องการคนรุ่นใหม่มากขึ้น (แม้จะไม่ได้ใหม่ถอด
ด้ามเพราะบางรายก็เป็นลูกของอดีตผู้นำหรือเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมาก่อน) รวมไปถึงเรื่องของวัฒนธรรมที่เริ่ม
เปลี่ยนแปลงไป เรื่องเหล่านี้ส่งผลให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งจำเป็นต้องพิจารณาถึงเรื่องของ ‘การได้รับการยอมรับ’
จากมิติอื่นๆนอกเหนือไปจากเรื่องของการเป็นคน ‘มีน้ำใจ’ เท่านั้น อย่างไรก็ตามอดีตผู้สมัครต่างพูดเป็นเสียง
เดียวกันว่า ‘จิตอาสา’ คือจุดตั้งต้นในการเข้าสู่วงการการเมืองที่ได้รับการยอมรับจากผู้คนในสังคมอย่างสำคัญ
ผู้ใหญ่บ้านคนหนึ่งกล่าวว่า ตนมีความต้องการทำงานทางด้านการเมืองอย่างมาก จึงได้เปิดตัวเข้าสู่วงการ
การเมืองด้วยการทำงานด้านจิตอาสาต่างๆ “ผมถ่ายเอกสารให้เลย ไม่ต้องเอาเอกสารการลงทะเบียนนามาให้ผม
ผมทำให้ พามาเอาด้วย ขึ้นรถปิ๊กอัพมาเอาเลย” ด้านผู้นำอีกคนหนึ่งกล่าวถึงประสบการณ์การเข้าสู่วงการการเมือง
ของตนว่า “ผมก็เป็นคนรุ่นใหม่ ก่อนมาลงสมัครผมทำงานที่ กทม. มาก่อน กลับมาบ้านแค่ 2 ปี มาเป็นผู้ช่วยก่อน
แล้วผมจะทำไงถ้าจะลง คือ 2 ปีก่อนผมก็วางแผนลงผู้ใหญ่บ้านแทนแม่ แต่มีคนไม่ชอบแม่เยอะก็ต้องเข้าใจ ผมจะ
71