Page 89 - b29420_Fulltext
P. 89

พลเมือง (KPI-CE) โดยเริ่มต้นจากการอบรมแกนนำพลเมืองและให้ความรู้เกี่ยวกับรากฐานประชาธิปไตย

               (foundation of democracy) 5 ด้านประกอบด้วย ความมีเหตุผล ซื่อสัตย์ มีวินัย รับผิดชอบและมีจิตสาธารณะ

               พร้อมทั้งให้แนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองหลากหลายรูปแบบและการมีส่วนร่วมในกระบวนการ

               เลือกตั้ง เพื่อนำไปสู่การเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรมไม่มีการซื้อสิทธิขายเสียงและจบลงด้วยความสมานฉันท์ ทุกฝ่าย
               สามารถพูดคุยและทำงานร่วมกันได้ภายหลังการเลือกตั้ง ซึ่งแกนนำพลเมืองอำเภอโพนทองได้เล็งเห็นถึง

               ความสำคัญของเนื้อหาความรู้ที่ได้รับ ประกอบกับเห็นถึงความเป็นจริงที่ผ่านมาว่าเมื่อมีการเลือกตั้งครั้งใดมัก

               นำไปสู่ความบาดหมางขัดแย้งแบ่งฝักแบ่งฝ่ายกันระหว่างคนในชุมชน จึงนำโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อ

               สิทธิ์ขายเสียงไปดำเนินการในตำบลสว่างอำเภอโพนทองโดยเริ่มต้นจากหมู่บ้านหนึ่งซึ่งผู้ใหญ่บ้านกำลังจะหมด

               วาระลง “จากปี 2559 ผมได้อบรมจากพระปกเกล้า จากนั้นผมได้เข้าโรงเรียนพลเมืองบ้านสว่าง ไปเรียนกัน 14
               คน ตอนนั้นได้ความคิดเรื่องจัดการกับชุมชนหลายเรื่อง ก็เลยหยิบประเด็นขยะและการเลือกตั้งผู้นำทุกระดับมา

               ลองทำ เพราะเราเห็นว่าทั้งผู้ใหญ่บ้าน อบต. มันเป็นการแข่งขันกันอย่างเอาเป็นเอาตาย คนที่ไม่ได้ก็แทบหมดเนื้อ

               หมดตัว เงินเดือนก็ไม่กี่บาท ก็เลยปักหมุดที่หมู่ .... ก่อนเป็นที่แรก” แกนนำพลเมืองผู้หนึ่งกล่าว  ด้านแกนนำ

               พลเมืองอีกผู้หนึ่งกล่าวเสริมว่า “บางคนขายที่ ขายนา เป็นหนี้เป็นสิน หมดเนื้อหมดตัว ผมเลยมองว่าการเลือกตั้ง

               ไม่ควรจะต้องใช้เงินเยอะขนาดนั้น น่าจะต้องเอาความดีมาสู้กัน”


                       แกนนำพลเมืองอำเภอโพนทองชี้ให้เห็นว่าภายหลังจากเผยแพร่ความคิดรากฐานประชาธิปไตย 5 ด้าน
               และการเลือกตั้งสมานฉันท์ไม่ซื้อสิทธิขายเสียงในที่ประชุม ผู้นำท้องที่ที่กำลังจะหมดวาระลงและกรรมการหมู่บ้าน

               ให้ความสนใจ เนื่องด้วยทุกฝ่ายเห็นจริงว่าผู้นำที่ดีควรต้องมีคุณสมบัติทั้ง 5 ประการข้างต้น เพราะหากปราศจาก

               คุณลักษณะเหล่านั้นแล้วบุคคลนั้นก็ไม่สมควรได้รับความไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่งผู้นำชุมชน จากจุดนี้จึงทำให้เกิด

               การขับเคลื่อนโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงขึ้นในตำบลสว่าง โดยกระบวนการต่างๆที่แกนนำ

               พลเมืองได้นำมาใช้เพื่อขับเคลื่อนการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงได้รับแนวคิดมาจากสถาบัน

               พระปกเกล้า ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 สร้างความรู้ความเข้าใจ ขั้นที่ 2 จัดเวทีเสวนา
               ระหว่างผู้สมัครและผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และขั้นที่ 3 รณรงค์ต่อเนื่อง ซึ่งในแต่ละขั้นมีรายละเอียดดังต่อไปนี้


                       ขั้นที่ 1 สร้างความรู้ความเข้าใจ มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมานฉันท์และ

               ไม่ซื้อสิทธิขายเสียงรวมไปถึงสร้างความไว้วางใจให้กับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพื่อเป้าหมายถัดไปในการเชิญชวนผู้ที่

               เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆในโครงการ ซึ่งการดำเนินการในขั้นตอนนี้มีหลากหลายวิธี เริ่มตั้งแต่การ

               สำรวจผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจากนั้นขอเข้าพบเพื่อทำความเข้าใจที่มาและความสำคัญของการดำเนินโครงการโดย
               ชี้ให้เห็นว่าการเลือกตั้งที่มีการแข่งขันรุนแรงที่นำมาสู่การต่อสู้ทุกวิถีทางเพื่อชัยชนะไม่เว้นแม้แต่การซื้อสิทธิขาย

               เสียงนั้นจะนำมาสู่การแบ่งฝังแบ่งฝ่ายและจบลงด้วยความขัดแย้งกันอย่างไร โดยทำความเข้าใจกับทุกฝ่ายว่า



                                                                                                           76
   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94