Page 91 - b29420_Fulltext
P. 91
เราจะทำยังไงให้บ้านของเราเป็นต้นแบบในระดับอำเภอ ตำบล คุยกันให้เกิดความเข้าใจตรงกันก่อน แล้วตัวแทน
กลุ่มเหล่านี้ก็จะมีสมาชิกกลุ่มละ 10 คนขยายผลกัน รณรงค์ในหมู่บ้าน” แกนนำคนเดียวกันนี้กล่าวถึงบรรยากาศ
ในการเข้าหากลุ่มต่างๆในขั้นแรกว่า “แรกๆเขาก็อาจไม่เข้าใจ เขาก็ว่าเงินไม่ได้ ‘หมู’ ไม่ได้ เขาก็ไม่เข้าใจ
ก็ประมาณ 20% ที่ยังไม่เข้าใจ แต่พอเราบอกไปว่ามาจากหน่วยเหนือ สถาบันพระปกเกล้า มีความรู้ดีๆมาให้
มีรากฐานประชาธิปไตย 5 เรื่อง มีวินัย มีเหตุผล รับผิดชอบ มีจิตอาสา ซื่อสัตย์ เราเอามาปรับพัฒนาชุมชนได้ เรา
ก็ยกการเลือกตั้งขึ้นมาว่าในการเลือกตั้งเราก็ต้องการผู้นำที่ดีมีความรู้มีความสามารถ เป็นคนที่มีจิตอาสามีความ
รับผิดชอบ ถ้าคนที่จะเป็นผู้นำก็ควรมีความพร้อม 5 ด้านนี้ เขาก็เข้าใจเพราะเราพูดถึงความเป็นจริงว่าเลือกตั้งที่
ทำให้เป็นหนี้เป็นสินบางคนหมดวาระไปแล้วก็ยังใช้หนี้ไม่หมด คนก็เข้าใจก็ไม่อยากให้พี่น้องขัดแย้งกันเอง อยากให้
ได้คนดีมีความพร้อมมีคุณสมบัติตามนี้ใครรู้ตัวว่าคุณสมบัติไม่ถึงก็อยากให้ถอยไปก่อน แต่เขาก็อยากแข่งกันว่าเป็น
สิทธิ ก็เป็นสิทธิของเขา แต่อย่างน้อยๆก็เข้าใจกันว่าไม่อยากให้บาดเจ็บกันมากเล่นกันพอประมาณอย่าถึงต้องกับ
ขายไร่นาเลย ไม่อยากให้ซื้อเสียงขายเสียงกัน อันนี้ทุกฝ่ายก็เข้าใจ”
ด้านผู้นำชุมชนรายหนึ่งกล่าวถึงบรรยากาศในช่วงแรกของการดำเนินโครงการในหมู่บ้านว่ามีกระแส
ต่อต้านพอสมควรแต่เป็นคนส่วนน้อย “พอบอกไปเขาก็ว่าห่วยจะมาห้ามอะไร แทนที่จะได้เล็กๆ น้อยๆ แต่ก็เป็น
กลุ่มน้อย ส่วนกลุ่มที่เห็นดีก็หลายกว่า ก็อย่างที่คาดการณ์ไว้ ว่า 50-50 ” ด้านอดีตผู้สมัครรายหนึ่งกล่าวถึง
บรรยากาศช่วงแรกของการดำเนินโครงการว่า “พอเขารู้ว่ามีโครงการญาติพี่น้องก็บ่นบ้างเล็กน้อย นิดหน่อย ผมก็
ตอบว่า เขารณรงค์ไม่ให้ซื้อสิทธิขายเสียง เราก็ต้องทำตามเขา ก็ต้องแยกแยะกันไปถ้าไม่มีสถาบันโดยเนื้อหาของ
คนในชุมชน ลำบาก มันต้องมีสถาบันเข้ามา เขาถึงจะเชื่อถือ แต่ว่าในชุมชนผม ก็คิดว่า ทำได้อยู่เพราะว่าคนที่นี่ก็
นับถือของชุมชน” ด้านแกนนำพลเมืองอีกรายหนึ่งกล่าวเสริมว่า“ก็เข้าใจว่าพอบอกว่าไม่ต้องแข่งกันได้ไหมมันก็
เป็นเรื่องยากเพราะถือว่าเป็นสิทธิ แต่ใจจริงสิ่งที่อยากชี้ให้เห็นก็คือ อยากให้ใช้เงินน้อยที่สุดไม่อยากให้เจ็บมาก
หลายครั้งที่ผ่านมามันมีตัวอย่าง อันนี้ก็เลยทำให้ทุกคนเข้าใจ แต่สุดท้ายยังไงถ้าลงได้แข่งก็ต้องสู้ แต่อย่างน้อยเขาก็
ได้เห็นแล้วว่าพอพูดถึงการเลือกตั้งมันก็ไม่ได้มีแค่หนทางเดียวคือแข่งกันอย่างเดียวคุยกันบ้างก็ได้”
นอกจากปัญหาความเข้าใจของคนในชุมชนช่วงแรกแล้ว อุปสรรคอีกประการอยู่ที่การทำความเข้าใจกับ
เจ้าหน้าที่รัฐ แกนนำพลเมืองรายหนึ่งเล่าให้ฟังถึงบรรยากาศในการประชาคมครั้งแรกที่มีการแนะนำโครงการนี้
ซึ่งในวันนั้นมีการเชิญชวนตัวแทนจากอำเภอเข้าร่วมรับฟังด้วย แต่เมื่อนั่งฟังแนวคิดของแกนนำสักพัก ผู้แทนของ
อำเภอก็แสดงความไม่เห็นด้วยเพราะไม่เข้าใจแนวคิดที่ว่าอยากให้คุยกันนั้นคืออะไร “ตอนแรกอำเภอไม่เข้าใจว่า
เราจะทำอะไร แต่เราก็ยังยืนยันว่าเรื่องนี้ทำได้ตามกฎหมาย ผมยืนยันเลยว่าผมเสนอโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์
ไม่ได้บอกว่าไม่ให้มีการเลือกตั้ง แต่อยากให้สมานฉันท์เท่านั้น เราก็ดูแล้วตามพรบ.เลือกตั้งมันไม่ได้ผิดอะไร เรา
ไม่ได้ไปเป่าหัวใคร สุดท้ายเขาก็เสียงอ่อนบอกว่าอย่าให้ผิดกฎหมายแค่นั้นแล่ะ คือผมก็บอกว่ากฎหมายเลือกตั้งก็
78