Page 86 - b29420_Fulltext
P. 86
หนึ่งจึงเป็นไปเพื่อแสดงให้เห็นถึงความพร้อมในการลงเล่นการเมือง ที่สำคัญคือเป็นเสมือนการแสดงออกว่าพวก
เขาจริงจังในการลงสมัครครั้งนี้ ไม่ได้มาเล่นๆ แต่ต้องการเข้ามาเป็นผู้นำจริงๆ ขณะเดียวกันก็เพื่อลดแรงเสียดทาน
จากคนในชุมชนบางกลุ่มที่มองว่าการเข้ามาดำรงตำแหน่งที่มีเงินเดือนนั้นก็ควรต้องมีค่าใช้จ่ายบ้างเล็กน้อยไม่ควร
เข้ามาดำรงตำแหน่งฟรีๆ และที่สำคัญคือการใช้เงินในนาทีสุดท้ายเมื่อมีการปั่นราคาจากหัวคะแนนและผู้มีสิทธิ
เลือกตั้งคล้ายเกมการพนันที่ทำให้ผู้สมัครจำเป็นต้องเดินหน้าหรือ ‘เล่มตามเกม’ นั้นไปเพราะไม่ต้องการพ่ายแพ้
ทั้งๆที่รู้ดีอยู่แล้วว่าเงินไม่ได้เป็นตัวชี้ขาดว่าผู้ซื้อเสียงจะชนะการเลือกตั้ง เพราะผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะมีเป้าหมายในใจ
อยู่แล้วว่าจะเลือกใคร ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นญาติกัน การจ่ายเงินจึงเป็นเพียงการสร้างโอกาสในการเปลี่ยนใจเท่านั้น
ดังที่อดีตผู้สมัครรายหนึ่งกล่าวว่า “เรื่องเงินก็คงต้องมีอยู่บ้าง เรียกว่าน้ำใจก็ต้องมีอย่างเก่า แต่ชาวบ้านไม่คิดว่าเรา
ไม่ได้มีผลตอบแทนอะไร แม้จะทำผลงานดีก็ตาม ก็ต้องมีการให้ จะให้แค่ไหนเท่านั้น ให้ทุกคน ให้ครอบครัว หรือ
ว่าให้วัด ก็ต้องคุยกับผู้ทรงคุณวุฒิ ให้นำไปพัฒนาจัดการร่วมกันก็ได้...การรับเงินผมก็คิดว่าไม่ใช่เรื่องผิด มันเป็น
เรื่องที่คนเข้ามาการเมืองก็ต้องย้อนกลับไปวงข้าราชการ”
อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากมีการรณรงค์เลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงบรรยากาศการเลือกตั้ง
ในพื้นที่เปลี่ยนไปหลายด้าน ด้านผู้สมัครและผู้นำชุมชนที่มีวิสัยทัศน์จะมองว่าโครงการนี้ได้สร้างโอกาสให้เห็น
มุมมองของการเลือกตั้งใหม่ๆไม่ใช่เพียงการแข่งขันกันอย่างเอาเป็นเอาตาย แต่ยังมีการพูดคุยหารือกันถึงแนวทาง
ที่เหมาะสมและกำหนดกติการ่วมกันก่อนถึงวันเลือกตั้ง การหาเสียงต้องเป็นไปตามกรอบนี้ไม่หลุดกติกา โดยมี
ประชาชนเป็นกรรมการคนสำคัญในเกมนี้ ซึ่งในทางปฏิบัติอาจมีหลุดบ้างในช่วงท้ายหากพื้นที่ใดที่สามารถปั่นราคา
ขึ้นมาได้ อย่างไรก็ตาม การดำเนินโครงการได้ช่วยให้เกิดการชะลอตัวของการแจกเงินลงไป และสร้างวัฒนธรรม
ใหม่ให้คนมองไปที่ความดี มองหาคนที่จะนำมาใช้งานอย่างแท้จริง ขณะเดียวกัน ก็สร้างให้คนบางกลุ่มเข้าใจปัญหา
จากการทุจริตเลือกตั้งได้มากขึ้น แต่กับคนบางกลุ่มก็ทำให้เกิดความเกรงใจ บางรายถึงขั้นเกรงกลัวมากกว่าจะ
เข้าใจความสำคัญของการดำเนินโครงการ ดังสะท้อนจากบทสัมภาษณ์ของอดีตผู้นำชุมชนรายหนึ่งที่เล่าถึง
บรรยากาศในการหาเสียงว่า “ที่เข้าใจก็มีที่ไม่เข้าใจก็มี บางทีเขาก็ว่ามาทำไม ‘ชังขี้หน้า’ ก็เป็นเรื่องธรรมดาเพราะ
เขาเคยได้ ส่วนผู้สมัคร จริงๆยินดีอยู่แล้ว มันขึ้นอยู่กับกองเชียร์”
นอกเหนือจากตัวแปรด้าน ‘ญาติ’ และ ‘เงิน’ ที่ผลการศึกษาพบว่ามีส่วนส่งผลต่อความสำเร็จของ
โครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงดังอธิบายไปข้างต้น เมื่อทำการวิเคราะห์ตัวแปรด้านผู้กระทำ
การและการประชาสัมพันธ์โครงการ เพื่อหาความสัมพันธ์ของตัวแปรข้างต้นกับความเปลี่ยนแปลงภายหลังดำเนิน
โครงการด้วยสถิติ One Way Anova พบว่าตัวแปรด้านบทบาทของแกนนำ ผู้นำชุมชน ผู้สมัคร ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
และการประชาสัมพันธ์โครงการผ่านเสียงตามสายและการเดินรณรงค์ พบว่าตัวแปรด้านผู้กระทำการและการ
ประชาสัมพันธ์โครงการ มีความสัมพันธ์กับความเปลี่ยนแปลงภายหลังการดำเนินโครงการ ดังตารางที่ 15
73