Page 85 - b29420_Fulltext
P. 85
ทำไง ผมก็ทำความดีประมาณ 2 ปีกว่าๆ ผมก็ตั้งใจมาลงสมัครเลือกตั้ง ผมประกาศตั้งแต่มาอยู่แล้วว่าจะลง แต่ผม
ก็พูดตรงๆไปเลยว่าผมไม่มีเงินนะ ถ้าอยากให้ผมเป็น ก็ต้องช่วยผม ... ญาติก็ต้องช่วย จากประสบการณ์รุ่นแม่ผม
หมดไปสองแสน ... ตอนผมทำก็เรื่องกินข้าว ก็ประมาณไม่มีตัวเลขเลย เพราะผมทำมาสองปีกว่า ทำบุญมั่ง อะไร
มั่ง ... คือผมเป็นคนรุ่นใหม่และเป็นคนที่ตั้งใจมาพัฒนาจริงๆ ก็หาพ่อแม่พี่น้องพ่อใหญ่แม่ใหญ่ เพราะทีมงานผู้ช่วย
จะมีญาติเยอะก็ต้องช่วยกัน ผมก็เอาความดีเข้าสู้ ...”
ด้านผู้นำชุมชนอีกคนหนึ่งเล่าให้ฟังถึงการเข้ามาดำรงตำแหน่งทางการเมืองว่า “ก่อนหน้านี้ผมเดินหาเสียง
และจะไปวัดไปเป็นมัคนายก ให้คนเฒ่าคนแก่ ไปจัดพิธีการ ที่มีความรู้อยู่ก็จะทำ ไหว้พระและไหว้ประชาชน
ผมขอทำในสิ่งที่ดี เพื่อให้เป็นตัวอย่างแก่ลูกหลาน” ผู้นำรายเดียวกันนี้กล่าวแนะนำแก่ผู้สมัครหน้าใหม่ว่า
“ถ้าลูกหลานหน้าใหม่อยากลงการเมือง อย่า ‘อ่อมซ่อม’ ต้องสร้างผลงาน สร้างอย่างไร คือชาวบ้าน พานำเขา
พาเขาช่วยคิดช่วยทำ ระหว่างหน่วยงานราชการต่างๆ คอยช่วยเหลือเขา อย่างผม รางน้ำเสียมีปัญหา มีปัญหาน้ำ
ตื้นเขินสะพานพัง ผมก็ชวนไปดูว่าเขาทำยังไง ผมก็ประสานงานหน่วยรับผิดชอบ ชาวบ้านมีความต้องการอย่างนี้
ก็ลงชื่อคุยกันเขาก็ได้รับการพัฒนา นักการเมืองหน้าใหม่มีโอกาสเข้ามาถ้าทำอย่างที่ผมทำนี่ลงพื้นที่อย่างน้อยสอง
ปี ไปได้ การลงพื้นที่ทำให้เรารู้จักคน ความคุ้นเคยเกิดขึ้น ก็เป็นตัวสนับสนุนตัวช่วย”
ผู้นำชุมชนอีรายเล่าให้ฟังถึงการเข้ามาดำรงตำแหน่งทางการเมืองว่า “ผมก็ทำเพื่อชุมชนมานาน ทั้งสามสี่
หมู่บ้านที่ผมอยู่ แต่ก่อนผมก็เป็นคนธรรมดาไม่ได้เป็นผู้ช่วยเป็นสารวัตรอะไร ... ผมเป็นลูกกำนันก็จริง แต่ว่าไม่ได้
ต่อจากพ่อนะครับ พอพ่อปลดเกษียณ ก็มีพี่น้องแข่งกันมา แต่ว่าผมเป็นรุ่นที่สาม ... แต่พอมีการแข่งขันก็ทะเลาะ
กัน กว่าจะสมานฉันท์กันได้ ก็ใช้เวลาสองสามปีกว่าจะสนิทใจ ยิ่งเรามีการเลือกตั้งมากเท่าไหร่ยิ่งทะเลาะกัน”
ด้านผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในหมู่บ้านรายหนึ่งเล่าถึงเหตุผลที่ทำให้ผู้นำชุมชนของตนได้รับ
เลือกให้เข้ามาดำรงตำแหน่งว่า “เขาเป็น สท. มาก่อน เวลามีงานระหว่าง สท . กับ ผู้ใหญ่บ้าน เขาก็ร่วมงานกัน
ตลอด สนใจการพัฒนา ทำกิจกรรมอะไรก็เข้าร่วมพัฒนา ... พี่น้องก็เลยสนใจในจุดนี้”
จากข้างต้นจะเห็นได้ว่าชัยชนะในการเลือกตั้งไม่ได้มาจากการซื้อเสียงเป็นหลัก แม้ไม่อาจปฏิเสธถึงการมี
อยู่ในการซื้อเสียง ทว่าการใช้เงินเพื่อหาคะแนนเสียงมีหลายลักษณะ ส่วนหนึ่งเป็นไปเพื่อการเปิดตัวเข้าสู่วงการ
การเมืองโดยใช้การบริจาค การสนับสนุนเงิน สิ่งของ อุปกรณ์ ในลักษณะต่างๆ รวมไปถึงการหยิบยื่นความ
ช่วยเหลือให้กับคนในชุมชน ดังเช่นผู้นำชุมชนคนหนึ่งกล่าวว่า “ผมเน้นเป็นของ มาม่าไข่ก็ให้ไป ชาวบ้าน
เดือดร้อน” การจ่ายเงินจริงๆแล้วไม่ได้เป็นไปเพื่อซื้อเสียงโดยตรงแต่เป็นไปเพื่อแสดงความพร้อมและ ‘ซื้อใจ’
กองเชียร์ภายหลังการเลือกตั้งสิ้นสุดลงเสียมากกว่า การใช้เงินส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นการเตรียมการเพื่อเข้าสู่
วงการการเมือง ตามความเชื่อและวัฒนธรรมของผู้คนในแถบอีสานที่เชื่อว่าผู้นำที่ดีจะต้องพึ่งพาได้ การใช้เงินส่วน
72