Page 74 - b29420_Fulltext
P. 74

สมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงไม่อาจใช้การรณรงค์ให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งแบบธรรมดาได้แต่ต้องมุ่งเน้นไปที่การ

               รณรงค์เรื่องการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงโดยเฉพาะ


                       ปัจจัยต่อมาเป็นความตระหนักถึงศักยภาพของตนในการมีทางเลือกผู้แทนซึ่งมีค่า Beta = -.123 และมีค่า
               Sig. < .05 แสดงให้เห็นว่าพื้นที่ที่มีความเปลี่ยนแปลงภายหลังดำเนินโครงการระดับมากนั้น ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะมี

               ตระหนักว่ามีอิทธิพลครอบงำการตัดสินใจของตนน้อยกว่าพื้นที่ที่มีความเปลี่ยนแปลงระดับปานกลางถึงน้อย กล่าว

               อีกนัยก็คือผู้มีสิทธิเลือกตั้งในพื้นที่ที่มีความเปลี่ยนแปลงระดับมากจะตระหนักถึงศักยภาพของตนในการมีทางเลือก

               มากกว่าพื้นที่ที่มีความเปลี่ยนแปลงระดับน้อย ปัจจัยตัวต่อมาคืออิทธิพลของญาติและหัวคะแนนต่อการตัดสินใจ

               เลือกผู้แทน ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าญาติและหัวคะแนนยังคงมีผลต่อการตัดสินใจเลือกผู้แทนต่อทุกกลุ่มพื้นที่ที่มี

               ความเปลี่ยนแปลงระดับต่างๆไม่ต่างกัน โดยมีค่า Beta = -.107 และมีค่า Sig. < .05

                       ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ชี้ให้เห็นไปในทิศทางเดียวกันว่าพื้นที่ที่มีความเปลี่ยนแปลงภายหลังการเลือกตั้ง

               ในมิติต่างๆระดับมากนั้น กลุ่มตัวอย่างผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะมีระดับความเข้าใจเรื่องการเลือกตั้งสมานฉันท์มากกว่า

               อย่างไรก็ตาม ปฏิเสธไม่ได้ว่าจากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ทั้งผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ผู้นำชุมชน และผู้ลงสมัคร

               รับเลือกตั้งเป็นผู้ใหญ่บ้าน ยังมีความเข้าใจบางส่วนที่ไม่ถูกต้องครบถ้วนเกี่ยวกับโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่

               ซื้อสิทธิขายเสียง ซึ่งมีส่วนต่อการสร้างความเปลี่ยนแปลงภายหลังการเลือกตั้งอย่างมีนัยสำคัญ โดยผลการ

               สัมภาษณ์ชี้ให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงแบ่ง

               ออกได้เป็น 4 กลุ่มความเข้าใจ ดังนี้

                       กลุ่มที่ 1 คือ กลุ่มที่เข้าใจว่าการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงคือการเลือกตั้งที่ “ไม่มีการ

               แข่งขัน” ไม่มีคู่แข่ง หรือเป็นการ “ยกให้กัน” ในที่นี้คือมองว่าการเลือกตั้งสมานฉันท์เป็นการที่คนในชุมชนมา

               พูดคุยกันและยกตำแหน่งให้แก่คนที่เหมาะสมเป็นลำดับไป ดังที่กลุ่มตัวอย่างรายหนึ่งระบุว่าการเลือกตั้งสมานฉันท์

               คือ “การเลือกตั้งของแต่ละชุมชนที่จะพูดคุยกันได้ ไม่มีการแข่งขัน เพราะถ้าแข่งขันกันเมื่อไหร่ความขัดแย้งมา
               ทันทีในชุมชน” ขณะที่ กลุ่มตัวอย่างอีกรายหนึ่งมองว่าการเลือกตั้งสมานฉันท์คือไม่มีแข่งขันก็สืบสานให้รุ่น

               ลูกหลานโดยให้เหตุผลว่า “แข่งขันกันมันยาก เลือกตั้งสมานฉันท์คือชุมชนคุยกันได้ คือเรามีคนที่เหมาะสมที่จะ

               เป็นผู้นำ” ด้านผู้นำชุมชนบางรายก็มองว่าการเลือกตั้งสมานฉันท์นั้น “เป็นการที่เราคุยกันให้ผู้ที่เหมาะสมที่สุดเป็น

               ก่อน เป็นการเลือกแบบพี่น้องกัน” ด้านผู้นำชุมชนอีกรายระบุว่าการเลือกตั้งสมานฉันท์สำหรับตนคือ “อยากให้

               รอมชอมกัน ที่จะแข่งกัน ผมก็บอกว่าอย่าไปแข่งกันเลย เราเป็นบ้านเดียวกันเราไม่ต้องแข่งกัน เดี๋ยวพี่น้องจะผิดใจ

               กัน เวลาพัฒนามันก็จะทำยาก” เป็นต้น







                                                                                                           61
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79