Page 73 - b29420_Fulltext
P. 73

วัฒนธรรมการเมืองเป็นเรื่องที่ไม่  -.010       .085           -.006      -.116      .908
                        ควรพูด
                        การติดตามนโยบาย                -.014          .131           -.006      -.103      .918

                        การร่วมรณรงค์ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง   -.095      .083           -.059     -1.146      .253

                a.  Dependent Variable: ความสำเร็จ
                b.  Predictors: (Constant), การบอกต่อโครงการ, ตระหนักว่ามีทางเลือก, การเข้าร่วมกิจกรรม, อิทธิพลญาติหัวคะแนน, การเมืองต้องปกปิด,
                    อิทธิพลทรัพย์สิน, การร่วมรณรงค์, เห็นคุณค่าคะแนนเสียง, การรับเงินกับบาป, การติดตามนโยบาย, ร้อยละรวมความรู้
                c.  R = 78.950

                d.  F = 17.903


                       แม้ในตารางที่ 12 จะชี้ให้เห็นว่าปัจจัยทั้ง 10 ข้อมีความสัมพันธ์โดยรวมต่อระดับความสำเร็จของการ

               ดำเนินโครงการ โดยมีค่า R = 78.950 อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาในรายละเอียดจะพบได้ว่าปัจจัยบางตัว ลำพัง

               ตัวมันเองไม่ได้มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จของการดำเนินโครงการอย่างมีนัยสำคัญ ดังปรากฎในตารางที่ 13


                       จากตารางที่ 13 จะเห็นได้ว่าเงื่อนไขที่มีความสัมพันธ์กับความเปลี่ยนแปลงภายหลังดำเนินโครงการ

               เลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงอย่างมีนัยสำคัญ ประกอบด้วย ความรู้ความเข้าใจ การเข้าร่วมกิจกรรม
               เลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง ความตระหนักว่าตนมีทางเลือกในการเลือกตั้ง อิทธิพลของญาติและ

               หัวคะแนน อิทธิพลของทรัพย์สินเงินทองต่อการตัดสินใจ ส่วนปัจจัยที่นำมาวิเคราะห์แต่ไม่พบความสัมพันธ์กัน

               อย่างมีนัยสำคัญ ประกอบด้วย ปัจจัยเรื่องการเห็นคุณค่าในคะแนนเสียงของตน วัฒนธรรมเรื่องการรับเงินมาแล้ว

               ไม่กาเท่ากับเป็นบาป ความรู้สึกว่าการเมืองเป็นเรื่องที่ต้องปกปิดไม่สามารถพูดคุยกับใครได้ การติดตามนโยบาย

               และการร่วมรณรงค์ให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง


                       อธิบายได้ว่าพื้นที่ที่มีความเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ ความตระหนัก ทัศนคติพฤติกรรม ตลอดจนมี
               บรรยากาศในการเลือกตั้งที่สมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงนั้นจะมีค่าความสัมพันธ์กับตัวแปรด้านต่างๆดังนี้

               ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง ผลการศึกษาพบว่าพื้นที่ที่กลุ่ม

               ตัวอย่างมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงระดับมากจะมีส่วนสัมพันธ์กับ

               ความเปลี่ยนแปลงภายหลังการเลือกตั้งใน 4 มิติระดับมากเช่นกัน โดยมีค่า Beta = .438 และมีค่า Sig.= .000

               นอกจากนั้น ระดับเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านการเข้าร่วมกิจกรรมด้วย โดยกิจกรรมในที่นี้ต้อง
               เป็นกิจกรรมที่มีจุดมุ่งหมายรณรงค์เพื่อการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงอย่างชัดเจน ไม่ใช่การ

               รณรงค์ให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งโดยทั่วไปเท่านั้น โดยมีค่า Beta = .228 และมีค่า Sig.= .000 ส่วนการเข้าร่วมกิจกรรม

               รณรงค์ให้ไปให้สิทธิเลือกตั้งมีค่า Beta = -.059 และมีค่า Sig. > .05 แสดงให้เห็นว่าความสำเร็จในการเลือกตั้ง




                                                                                                           60
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78