Page 138 - b29420_Fulltext
P. 138

ความตระหนักของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในศักยภาพของตนต่อการมีทางเลือกในการเลือกผู้แทนและในการสร้างความ

               เปลี่ยนแปลงต่อชุมชน


                       เงื่อนไขด้านวัฒนธรรมและผลประโยชน์ (interest & culture) ประกอบด้วยปัจจัยด้านญาติ
               หัวคะแนน ทรัพย์สินเงินทอง และความเชื่อด้านศาสนา


                       ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าปัจจัยทั้งหมดเหล่านี้ล้วนมีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการสร้างความ

               เปลี่ยนแปลงภายหลังดำเนินโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงให้มีระดับที่แตกต่งกัน

               ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า เงื่อนไขด้านแกนนำและผู้เกี่ยวข้อง (actors) คือปัจจัยที่มีความสำคัญที่สุดต่อการดำเนิน

               โครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง โดยแกนนำผู้ดำเนินโครงการในพื้นที่คือปัจจัยที่สำคัญที่ที่สุด

               ที่จะผลักดันให้โครงการนี้เกิดขึ้นในพื้นที่ได้ ในฐานะผู้แนะนำความสำคัญของโครงการ การจัดกระบวนการ
               ตลอดจนผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นภายหลังจากการเข้าร่วมโครงการหรือการปฏิเสธที่จะเข้าร่วมโครงการเลือกตั้ง

               สมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงแก่คนในชุมชนที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย


                       กล่าวได้ว่า ‘แกนนำ’ คือจุดตั้งต้นสำคัญที่จะส่งผลให้โครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง

               ได้รับความสนใจจากคนในพื้นที่และได้รับการนำไปปฏิบัติต่อในพื้นที่หรือไม่ หรือจะได้รับความร่วมมือจากฝ่าย

               ต่างๆที่เกี่ยวข้องหรือไม่ ในแง่นี้แกนนำจึงต้องเป็นทั้งผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจความสำคัญตลอดจนความสัมพันธ์ของ

               การเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงกับการพัฒนาคุณภาพประชาธิปไตยเป็นอย่างดี ทั้งยังต้องเป็นผู้ที่มี
               ความสามารถในการถ่ายทอดองค์ความรู้เหล่านั้นสู่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้เห็นถึงความสำคัญของโครงการดังกล่าวได้

               ตลอดจนต้องเป็นผู้ที่เข้าใจในกระบวนการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง สามารถเชิญชวนและจัดวาง

               บทบาทการมีส่วนร่วมให้แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้อย่างเหมาะสม


                       อย่างไรก็ตาม แม้แกนนำจะมีความสำคัญต่อการดำเนินโครงการในฐานะจุดตั้งต้นสำคัญของการดำเนิน

               โครงการในพื้นที่ แต่ในการขับเคลื่อนโครงการให้ประสบความสำเร็จนั้น ไม่อาจอาศัยการดำเนินงานจากแกนนำ

               เพียงลำพังได้ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายในชุมชน ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าผู้นำชุมชนคือจุดเชื่อมต่อ
               สำคัญที่จะช่วยให้โครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงดำเนินต่อไปในพื้นที่ได้หรือไม่ เพราะผู้นำ

               ชุมชนคือผู้ที่จะประสานความร่วมมือจากทุกฝ่ายเนื่องจากเป็นผู้ที่ทราบบริบทของชุมชน ทราบว่าใครคือผู้ที่มี

               แนวโน้มจะลงสมัครรับเลือกตั้งบ้าง มีกลุ่มใดในชุมชนบ้าง มีผู้ใดเป็นปราชญ์หรือผู้เฒ่าที่คนในชุมชนให้ความเคารพ

               นับถือและสามารถพูดคุยได้บ้าง รวมไปถึงคนในชุมชนมีวัฒนธรรมทางการเมืองอย่างไร มีช่องทางใดในการสื่อสาร

               กับผู้คนในชุมชนและจะเริ่มต้นการดำเนินโครงการนี้ในชุมชนอย่างไร ดังนั้น แม้จุดเริ่มต้นแกนนำจะเป็นตัวแสดงที่






                                                                                                          124
   133   134   135   136   137   138   139   140   141   142   143