Page 133 - b29420_Fulltext
P. 133

1.2.1 ความรู้และการถ่ายทอดความรู้ นับเป็นกระบวนการหนึ่งที่ส่งผลต่อการสร้างความตระหนักอย่าง

               สำคัญ  แต่ดังที่กล่าวไปแล้วว่าภายใต้โครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงที่ดำเนินการในจังหวัด
               ร้อยเอ็ดยังมีข้อจำกัดในการถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงอย่างครบถ้วน

               รอบด้าน ทั้งยังมีลักษณะเลือกสรรค์การนำเสนอข้อมูลบางอย่างและลดทอนข้อมูลในการนำเสนอบางอย่าง

               กล่าวคือ การนำเสนอมุ่งเป้าไปที่การเลือกตั้งที่สมานฉันท์ในลักษณะ ‘ยกให้กัน’ โดยไม่มีรายละเอียดว่าการยกให้
               กันนั้นไม่ใช่การใช้อภิสิทธิแต่เป็นการเลือกสรรค์จากความดีที่ผ่านมา โดยที่กระบวนการนี้ส่วนใหญ่ดำเนินการเป็น

               การเฉพาะกลุ่ม เช่น กลุ่มผู้นำ กรรมการหมู่บ้าน และผู้สมัคร ในส่วนของผู้มีสิทธิเลือกตั้งนั้นมีจำนวนน้อยมากที่จะ
               ได้เข้าร่วมในกระบวนการนี้

                       เมื่อการถ่ายทอดความรู้เน้นจำเพาะไปที่การลดการแข่งขันเป็นประเด็นแรก จึงทำให้การถ่ายทอดความรู้

               เรื่องการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงในเวทีเสวนาเป็นไปอย่างไม่ครอบคลุมตัวทฤษฎีทั้งหมดและ
               ทำให้มองว่าการแข่งขันเป็นสิ่งที่ไม่ดี เมื่อเป็นเช่นนี้บทบาทหลักของกระบวนการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิ

               ขายเสียงจึงเน้นไปที่ตัวผู้สมัครเป็นหลักว่าจะแข่งขันกันหรือไม่ จึงทำให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่ได้มีบทบาทสำคัญใน
               กระบวนการเลือกตั้งในการติดตามตรวจสอบหรือทำให้เกิดการแข่งขันกันระหว่างผู้สมัครในการให้บริการ

               ประชาชนเท่าที่ควร ดังนั้น ข้อที่ต้องระมัดระวังคือการเลือกเฟ้นองค์ความรู้ที่เฉพาะมาถ่ายทอดที่จะนำไปสู่

               กระบวนการมีส่วนร่วมที่จำกัด ซึ่งกระบวนการมีส่วนร่วมที่จำกัดนั้นก็จะส่งผลต่อการก่อเกิดสำนึกและความ
               ตระหนักในความสำคัญของการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงให้จำกัดตามไปด้วย

                       1.2.2 วัฒนธรรมและผลประโยชน์ นับเป็นอีกกลไกสำคัญที่เป็นได้ทั้งปัจจัยที่ส่งเสริมหรือขัดขวางต่อการ

               เลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง โดยผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าคนส่วนใหญ่ในชุมชนทางแถบภาคอีสาน
               มีวัฒนธรรมที่มองว่าผู้ที่มอบทรัพย์สินเงินทองให้กับชุมชนหรือยินดีช่วยเหลือเรื่องเงินทองแก่ผู้คนในชุมชน

               ที่เดือดร้อนคือผู้ที่พึ่งพาได้และมีความเป็นผู้นำ ดังนั้นพวกเขาจึงไม่ปฏิเสธการรับเงินในช่วงของการเลือกตั้ง โดย
               มองว่าการที่ผู้สมัครมอบเงินให้นั้นคือการที่ผู้สมัครเห็นคุณค่าของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เป็นสินน้ำใจก่อนที่จะเข้าดำรง

               ตำแหน่งที่มีเงินเดือนประจำ ดังนั้น แม้ว่าผลการศึกษาจะระบุว่าการแจกเงินจะไม่อาจรับประกันชัยชนะในการ

               เลือกตั้งได้ แต่ด้วยความเชื่อและวัฒนธรรมดังกล่าวจึงทำให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งไม่สามารถปฏิเสธที่จะจ่ายเงินได้
               ในแง่นี้การเข้ามาของโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงในชุมชนจึงเป็นที่สนใจของกลุ่มผู้นำ

               ผู้สมัครรับเลือกตั้งมากกว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เพราะผู้สมัครรับเลือกตั้งจะใช้จ่ายเงินในการหาคะแนนเสียงลดลง
               ในทางกลับกันผู้มีสิทธิเลือกตั้งอาจได้รับผลประโยชน์ที่เป็นตัวเงินลดลง ด้วยเหตุนี้ ความตระหนักถึงความสำคัญใน

               การดำเนินโครงการจึงถูกกีดขวางไว้ด้วยความเชื่อและวัฒนธรรม รวมไปถึงผลประโยชน์ที่เคยได้รับในอดีต ในแง่นี้

               หากการสร้างความรู้ความเข้าใจไม่ครบถ้วนรอบด้านและไม่ลึกซึ้งมากพอย่อมส่งผลต่อการสร้างความตระหนักถึง
               ความสำคัญของการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงได้







                                                                                                          119
   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138