Page 134 - b29420_Fulltext
P. 134

จากกลไกทั้ง 2 ประการ ในเรื่องของความรู้วัฒนธรรมและผลประโยชน์ข้างต้น จึงส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างใน

               พื้นที่เป้าหมายแม้จะเป็นพื้นที่ดำเนินโครงการยังมีความตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินโครงการน้อย แม้แต่
               กลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ที่มีความเปลี่ยนแปลงภายหลังการดำเนินโครงการมาก ก็ยังไม่อาจรับประกันว่าความตระหนัก

               ในศักยภาพของตนนั้นเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินโครงการอย่าง

               ตรงไปตรงมา
                       งานวิจัยชิ้นนี้มองว่าต้องแยกกันระหว่างความตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อ

               สิทธิขายเสียง ออกจากความตระหนักถึงศักยภาพในการสร้างความเปลี่ยนแปลงของกลุ่มตัวอย่าง เพราะแม้ผล
               การศึกษาจะชี้ให้เห็นว่ากระบวนการส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงสามารถสร้างความ

               ตระหนักถึงศักยภาพในการสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ ทว่าความตระหนักในศักยภาพที่เพิ่มมากขึ้นนั้นไม่ได้

               หมายความว่าผู้นั้นเล็งเห็นถึงความสำคัญของการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงอย่างแท้จริง เรื่องนี้มี
               ความสำคัญเนื่องจากจะส่งผลต่อทัศนคติและพฤติกรรมที่อาจจะไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

                       ดังผลการศึกษาที่ชี้ให้เห็นว่าแม้โครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงจะสามารถสร้างความ
               เปลี่ยนแปลงในเรื่องของบรรยากาศของการเลือกตั้งทั้งก่อนและหลังวันเลือกตั้งได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาใน

               รายละเอียดจะพบได้ว่าบรรยากาศของการเลือกตั้งที่เปลี่ยนแปลงไปโดยส่วนมากเกิดขึ้นจากการขับเคลื่อนของ

               แกนนำ โดยความร่วมมือของผู้นำชุมชนและผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นหลัก เนื่องจากกิจกรรมโดยหลักที่พบจะเป็น
               การจัดเวทีเสวนาเพื่อให้ความรู้หรือเพื่อสร้างโอกาสในการพบเพื่อแลกเปลี่ยนระหว่างผู้สมัครและผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

               และการรณรงค์รูปแบบต่างๆ ซึ่งแกนนำระดับโครงการเป็นผู้ดำเนินการหลัก คนในชุมชนยังพบว่าเข้ามามีส่วนร่วม

               ในกระบวนการส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงน้อย ส่วนใหญ่ยังอยู่ในระดับของการเข้าร่วม
               กิจกรรมมากกว่าจะได้เข้าไปมีส่วนร่วมคิดร่วมทำและร่วมดำเนินการ

                       ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่มองว่าปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จของการดำเนิน
               โครงการอยู่ที่ผู้สมัคร กล่าวคือ หากผู้สมัครไม่แจกเงินก็จะส่งผลให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยบริสุทธิ์ยุติธรรมและจบ

               ลงด้วยความสมานฉันท์ได้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นทัศนคติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ยังมองว่าการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม

               เป็นเรื่องที่ไกลตัวเป็นเรื่องที่ไม่ได้เกี่ยวพันกับผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากผู้สมัครรับเลือกตั้ง ดังนั้น
               หากผู้สมัครรับเลือกตั้งหยุดจ่ายเงินปัญหาดังกล่าวก็จะยุติลง ทัศนคติเช่นนี้มีส่วนส่งผลต่อพฤติกรรมการแสดงออก

               ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ปลีกตัวออกมาเป็นเพียง ‘ผู้ดู’ มากกว่าเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหา ดังบทสัมภาษณ์
               ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ที่ระบุว่าพวกเขาพร้อมที่จะให้ความร่วมมือ ซึ่งเป็นเหตุผลกลางๆในลักษณะแบ่งรับ

               แบ่งสู้กล่าวคือหากไม่มีการดำเนินโครงการพวกเขาก็ไม่ได้รู้สึกเดือดร้อนหรือมองว่าการหาเสียงการเลือกตั้งหรือ

               แม้แต่การแจกเงินเป็นปัญหาอะไร แต่หากมีการดำเนินโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงพวกเขา
               ก็พร้อมที่จะยอมรับแต่ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะออกมาแสดงบทบาทในการสร้างความเปลี่ยนแปลงเพราะ








                                                                                                          120
   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139