Page 131 - b29420_Fulltext
P. 131
ระบอบประชาธิปไตยอยู่ด้วย เพียงแต่เป็นการแข่งขันกันก่อนหน้าที่จะมีประกาศวันเลือกตั้งที่จะนำไปสู่
กระบวนการมอบอำนาจและความชอบธรรมให้แก่ผู้สมัครอย่างเป็นทางการเท่านั้น
ด้วยเหตุนี้ การตีตรากระบวนการ ‘ยกให้กัน’ ของคนในชุมชนจึงเป็นสิ่งที่ละเลยรายละเอียดและทำให้
พลาดกลไกที่เป็นต้นทุนทางสังคมในชุมชนไป ขณะที่ การลดทอนให้การเลือกตั้งสมานฉันท์เหลือเพียงแค่คำพูด
ที่ว่า ‘ยกให้กัน’ ก็ไม่เพียงพอต่อการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อกระบวนการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิ
ขายเสียงเช่นกัน
ดังนั้น แม้ผลการศึกษาจะชี้ให้เห็นว่าโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงยังสามารถสร้าง
ความเปลี่ยนแปลงด้านบวกอันนำไปสู่การเลือกตั้งที่มีคุณภาพและส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้มีสิทธิ
เลือกตั้งในกระบวนการเลือกตั้งได้อย่างจำกัด ทว่าพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการก็ยังมีสัดส่วนความเปลี่ยนแปลงในมิติ
ต่างๆที่สูงกว่าพื้นที่ที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการอย่างมีนัยสำคัญ สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าการประชาสัมพันธ์ที่ผ่านมา
เกี่ยวกับการเลือกตั้งที่มีคุณภาพของสังคมที่ผ่านมาแม้จะมีอยู่แต่ยังสามารถเข้าถึงประชาชนได้น้อยและยังไม่
สามารถสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้ว่าในฐานะที่เป็นพลเมืองพวกเขาสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการ
ส่งเสริมการเลือกตั้งที่ดีเสรีเป็นธรรมและไม่มีการซื้อสิทธิขายเสียงได้อย่างไรบ้าง ดังนั้น การพิจารณาทบทวน
เงื่อนไขปัจจัยที่จะส่งเสริมต่อการพัฒนากรอบแนวคิดเรื่องการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงจึงมี
ความสำคัญเพื่อผลักดันให้กระบวนการส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงมีประสิทธิภาพมาก
ยิ่งขึ้น และกระบวนการสำคัญอย่างหนึ่งที่จำเป็นต้องสร้างให้เกิดขึ้นก็คือการสร้างความเข้าใจเรื่องการเลือกตั้ง
สมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงให้ถูกต้องรอบด้าน
1.2 ด้านความตระหนักถึงศักยภาพของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและการเปลี่ยนแปลงด้านทัศนคติและ
พฤติกรรม
ความตระหนักในที่นี้ หมายถึง ความตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขาย
เสียงและความตระหนักในศักยภาพของตนเองในการเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการเลือกตั้งและสร้างความ
เปลี่ยนแปลงผ่านการเลือกตั้งได้ โดยความตระหนักข้างต้นประเมินจาก 3 เรื่อง ประกอบด้วย 1) การตระหนักว่า
ตนมีทางเลือกในการเลือกตั้ง 2) การตระหนักว่าตนมีศักยภาพในการมีส่วนร่วมผ่านการเสนอแนะนโยบายต่อ
ผู้สมัคร และ 3) การตระหนักว่าคะแนนเสียงของตนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงให้แก่พื้นที่ได้
ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการดำเนินโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงสามารถเสริมสร้าง
ความตระหนักให้แก่กลุ่มตัวอย่างได้แต่ในระดับที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงความรู้ความเข้าใจ
เกี่ยวกับการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงของกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ กล่าวคือ หากพื้นที่นั้นมีกลุ่ม
ตัวอย่างที่มีความรู้ความเข้าใจการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงระดับมาก ก็จะมีความตระหนักถึง
ศักยภาพในการเสนอแนะนโยบายต่อผู้สมัครและมีความตระหนักในคุณค่าคะแนนเสียงของตนในการสร้างความ
117