Page 127 - b29420_Fulltext
P. 127
บทที่ 5
สรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ
งานวิจัยเรื่องการขับเคลื่อนการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง จังหวัดร้อยเอ็ด มีวัตถุประสงค์
4 ประการ ประกอบด้วย 1) เพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ที่นำกระบวนการส่งเสริมการเลือกตั้ง
สมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง ไปดำเนินการ 2) เพื่อศึกษาเงื่อนไขปัจจัยที่ส่งเสริมหรือขัดขวางต่อกระบวนการ
เลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง 3) เพื่อศึกษาเงื่อนไขปัจจัยที่ส่งผลต่อความต่อเนื่องของกระบวนการ
เลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง และ 4) เพื่อพัฒนาตัวแบบ (model) ของกระบวนการเลือกตั้ง
สมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง สำหรับขยายผลในพื้นที่อื่นต่อไป
ในบทที่ 5 ซึ่งเป็นบทสรุปนี้จะแบ่งการนำเสนอออกเป็นส่วนของการสรุปและวิเคราะห์ผลศึกษา
โดยจำแนกออกเป็น 1) ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการในพื้นที่เป้าหมายเปรียบเทียบกับพื้นที่
ข้างเคียง 2) เงื่อนไขปัจจัยที่ส่งเสริมหรือขัดขวางต่อกระบวนการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงรวมไป
ถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อความต่อเนื่องของกระบวนการดังกล่าว 3) ตัวแบบ 5 สร้างสู่การเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อ
สิทธิขายเสียง และ 4) ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ
1. ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการในพื้นที่เป้าหมายเปรียบเทียบกับพื้นที่ข้างเคียง
โครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง มีจุดมุ่งหมายการเปลี่ยนแปลงที่คาดหวังว่าจะสร้างให้
เกิดขึ้นอย่างน้อย 3 เรื่องประกอบด้วย 1) การเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ความเข้าใจ 2) การเปลี่ยนแปลงด้านความ
ตระหนักรู้ถึงศักยภาพของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงด้านทัศนคติและพฤติกรรม และ 3) การ
เปลี่ยนแปลงด้านบรรยากาศของการเลือกตั้งที่มีการซื้อสิทธิขายเสียงลดลงและมีความสมานฉันท์เกิดขึ้นภายหลัง
การเลือกตั้ง ซึ่งผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงสามารถสร้างความ
เปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นได้ทั้งด้านความรู้ความเข้าใจ ความตระหนัก ตลอดจนนำไปสู่บรรยากาศการเลือกตั้งที่
เปลี่ยนแปลงไปได้
1.1 ด้านความรู้ความเข้าใจ (knowledge)
ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงสามารถสร้างความรู้ความ
เข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม และบทบาทของพลเมืองในกระบวนการเลือกตั้ง
ในการมีส่วนช่วยส่งเสริมการเลือกตั้งที่โปร่งใสเป็นธรรมและจบลงด้วยความสมานฉันท์ได้ ดังปรากฎว่าพื้นที่ที่เข้า
ร่วมโครงการนั้น กลุ่มตัวอย่างจะมีองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งที่บริสุทธิยุติธรรมและการมีส่วนร่วม
ทางการเมืองในกระบวนการเลือกตั้งของพลเมืองมากกว่าพื้นที่ข้างเคียง โดยมีค่าเฉลี่ยความรู้ของกลุ่มตัวอย่างที่ได้
คะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 โดยรวมอยู่ที่ร้อยละ 36 โดยพื้นที่ที่ได้คะแนนความรู้ผ่านเกณฑ์สูงที่สุดอยู่ที่ร้อยละ
113