Page 124 - b29420_Fulltext
P. 124
กิจกรรมต่างๆได้แล้วควรถอยออกมาเป็นที่ปรึกษาให้มากขึ้น โดยทำหน้าที่เป็นชี้แนะสนับสนุนการดำเนินการแต่
ไม่ใช่ผู้ดำเนินการหลักดังทีผ่านมา
2.2 การจัดเวทีเสวนาร่วมระหว่างผู้สมัครและผู้มีสิทธิเลือกตั้ง: มีเป้าหมายเพื่อเปิดพื้นที่ให้แก่ผู้สมัครและผู้
มีสิทธิเลือกตั้งได้พบปะกันในด้วยระยะเวลาที่ยาวนานมากขึ้น และภายใต้กิจกรรมที่จะส่งเสริมต่อ
กระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยมากกว่าการที่ผู้สมัครเดินหาเสียงตามบ้าน ที่ทำได้เพียงการทักทายเล็กน้อยและ
มอบเอกสารแนะนำตัวที่บางครั้งก็ไม่ได้มีแม้แต่นโยบายของผู้สมัคร และบางครั้งไปติดไปพร้อมกับ ‘เงิน’ ที่เป็น
อามิสสินจ้างให้เลือกตนเอง
ในเวทีเสวนาร่วมนี้ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งคือเจ้าของเวทีเสวนาตัวจริง พวกเขาคือผู้กำหนดวาระในการเสวนา
ภายใต้กติกาที่ทุกฝ่ายเท่าเทียมกันทั้งประเด็นที่ต้องนำเสนอ คำถาม และระยะเวลาในการตอบคำถาม ไม่มีผู้สมัคร
รายใดที่จะได้เวลาในการนำเสนอมากกว่าฝ่ายใด ทุกฝ่ายจะต้องได้รับการปฏิบัติในแบบเดียวกัน ด้วยหลักของ
ความเป็นกลาง โดยผู้นำกระบวนการเสวนาอาจเป็นหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบการเลือกตั้ง หรือเป็น
สถาบันการศึกษา หรือเป็นภาคประชาสังคมก็ได้เช่นกัน แต่สิ่งที่พึงระวังคือผู้จัดจะต้องมีความเป็นกลาง และต้อง
ดำเนินการภายใต้หลักไม่เอื้อประโยชน์ต่อผู้สมัครฝ่ายใด การเสวนาจะต้องกระทำอย่างสร้างสรรค์ไม่เน้นการ
โต้เถียงเป็นการแลกเปลี่ยนมุมมองทางด้านปัญหาและนโยบายอย่าง ‘อารยะ’ ไม่มีการโห่ร้องด่าทอจากกองเชียร์
ของฝ่ายใดๆ ทุกฝ่ายต้องยึดหลักรากฐานประชาธิปไตย 5 ประการ ในการเสวนาร่วมกัน
โดยผลผลิตจากเวทีเสวนาอาจแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับบริบทและบรรยากาศของการเสวนา บางเวที
อาจได้มีการลงนามความร่วมมือระหว่างผู้สมัครฝ่ายต่างๆในการไม่ซื้อสิทธิขายเสียง ทว่านั่นไม่ใช่เป้าหมายของเวที
สิ่งที่เวทีเสวนาคาดหวังว่าจะได้รับ ประกอบด้วย 1) การสร้างความตระหนักในศักยภาพให้แก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน
ฐานะเจ้าของอำนาจอธิปไตยและผู้กำหนดวาระการพัฒนาของชุมชน 2) กติกาการเลือกตั้งอย่างสร้างสรรค์ที่
ผู้สมัครและผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็นผู้ร่วมกันกำหนดขึ้นมา 3) ข้อเสนอของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งประกอบด้วย คุณสมบัติ
ของผู้แทนที่พึงปรารถนาและนโยบายที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องการ และ 4) สัญญาใจ หรือข้อผูกพันที่จะเกิดขึ้นจาก
กติกาการเลือกตั้งที่เกิดขึ้น ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้คือหัวใจสำคัญที่การจัดเวทีเสวนามุ่งหวังให้เกิดขึ้น
อนึ่ง เวทีเสวนาร่วมระหว่างผู้สมัครและผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่ได้เป็นการสร้างข้อผูกพันตามกฎหมาย แต่เป็น
กระบวนการที่สร้างพื้นที่ให้แก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้มีส่วนร่วมในกระบวนการเลือกตั้งมากกว่าการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
และเป็นพื้นที่ที่เสริมสร้างศักยภาพทางการเมืองให้แก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในฐานะเจ้าของอำนาจอธิปไตย ไม่มีที่ทาง
แสดงออกทางการเมืองอย่างเหมาะสมเพื่อพัฒนากระบวนการประชาธิปไตยตั้งแต่ต้นทางผ่านการเลือกตั้ง ดังนั้น
ข้อสรุปหรือข้อตกลงใดๆที่เกิดขึ้นจากเวทีจึงไม่ได้มีข้อผูกพันตามกฎหมายเป็นเพียงภาระผูกพันทางใจ ที่อาจมีผล
110