Page 129 - b29420_Fulltext
P. 129

ไม่ซื้อสิทธิขายเสียง ไม่ว่าจะเป็น ความตระหนัก ทัศนคติและพฤติกรรม อันเป็นพื้นฐานที่จะนำไปสู่ความ

               เปลี่ยนแปลงบรรยากาศในการเลือกตั้งให้มีความสมานฉันท์และไม่มีการซื้อสิทธิขายเสียงต่อไป
                       ดังนั้น แม้จะปฏิเสธไม่ได้ว่าการดำเนินโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงจะไม่สามารถ

               สร้างให้กลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ที่ดำเนินโครงการมีความเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ความเข้าใจในระดับผ่านเกณฑ์ได้ทุก

               พื้นที่ ดังจะเห็นได้ว่ายังมีกลุ่มตัวอย่างบางส่วนที่มีความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขาย
               เสียงไม่ถูกต้อง ดังผลจากการสัมภาษณ์ที่ชี้ให้เห็นว่าความเข้าใจของกลุ่มตัวอย่างต่อการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่

               ซื้อสิทธิขายเสียงสามารถจำได้ออกไปเป็น 4 ลักษณะ กล่าวคือ
                       1) เข้าใจว่าการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงคือการเลือกตั้งที่ “ไม่มีการแข่งขัน” หรือเป็น

               การ “ยกให้กัน” ในที่นี้คือมองว่าการเลือกตั้งสมานฉันท์เป็นการที่คนในชุมชนมาพูดคุยกันและยกตำแหน่งให้แก่

               คนที่เหมาะสมเป็นลำดับไป
                       2) เข้าใจว่าการเลือกตั้งสมานฉันท์เป็นการเลือกตั้งที่ใช้ญาติพี่น้อง ใช้ความดี กลุ่มนี้มองว่า ‘ญาติพี่น้อง’

               เป็นปัจจัยสำคัญสู่ชัยชนะในการเลือกตั้ง อีกเงื่อนไขคือการใช้ ‘ความดี’ หรือผลงานที่ผ่านมาซึ่งเรื่องนี้เชื่อมโยงกับ
               ความเข้าใจเรื่องการไม่แข่งขันเลือกตั้งด้วย

                       3) เข้าใจว่าการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงเป็นโครงการที่ผู้สมัครจะ ‘ไม่มีการแจกเงิน’

               เพื่อแลกกับคะแนนเสียงอีกต่อไป อย่างไรก็ตาม การกล่าวเช่นนี้ไม่ได้ระบุให้ทราบถึงความพอใจหรือไม่พอใจต่อ
               โครงการ เป็นแต่เพียงการสะท้อนความเข้าใจของกลุ่มตัวอย่างต่อโครงการเท่านั้น

                       4) เข้าใจว่าการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงเป็นโครงการที่ทุกฝ่ายมีความร่วมเพื่อการ

               เลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม ลดความขัดแย้งไม่แบ่งฝักแบ่งฝ่ายชุมชน ซึ่งกลุ่มนี้นับเป็นกลุ่มที่มีความเข้าใจ
               ความหมายและความสำคัญของโครงการได้อย่างถูกต้องใกล้เคียงกับนิยามของการเลือกตั้งสมานฉันท์ที่ผู้วิจัย

               กำหนดไว้มากที่สุดแต่กลับมีสัดส่วนอยู่เป็นจำนวนน้อย
                       ผลการศึกษาข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่า การดำเนินโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงที่

               ผ่านมาในจังหวัดร้อยเอ็ด แม้จะสร้างความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของการเลือกตั้ง โทษของการเลือกตั้ง และการมี

               ส่วนร่วมของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในกระบวนการเลือกตั้งได้โดยพื้นฐานได้ แต่ยังไม่สามารถเปลี่ยน ‘ความเชื่อ’ เดิมของ
               ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเกี่ยวกับการหาเสียงเลือกตั้งที่ชุมชนเคยมีประสบการณ์ในอดีตที่เน้นการแข่งขันและชัยชนะได้

               ส่งผลให้การเลือกตั้ง ‘สมานฉันท์’ ได้รับการตีความโดยประสบการณ์ให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของ
               พื้นที่ ผู้วิจัยพบว่าบางพื้นที่ก่อนที่จะเข้าร่วมโครงการนั้นมีลักษณะที่มีการเลือก ‘ผู้นำ’ ในแบบยกตำแหน่งให้กันมา

               ก่อน ซึ่งผลที่เกิดขึ้นคือไม่มีการแข่งขัน เมื่อไม่มีการแข่งขันจึงไม่มีการใช้ ‘เงิน’ แต่เป็นการใช้ความดีหรือผลงานใน

               อดีตเป็นเครื่องยืนยันในความเหมาะสมที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งของผู้นั้น ประสบการณ์เหล่านี้ถูกจับมาเชื่อมโยง
               กับ ‘การเลือกตั้งสมานฉันท์’ ในแง่ของการจำกัดการแข่งขันเสียแต่ต้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้งหรือแจก

               เงินทองที่นำไปสู่การลงทุนทางการเมืองจำนวนมาก ซึ่งการตีความเช่นนี้มีลักษณะเป็นการตีความในทางปฏิบัติ





                                                                                                          115
   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134