Page 132 - b29420_Fulltext
P. 132

เปลี่ยนแปลงสูงกว่าพื้นที่ที่กลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจต่อการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงในระดับ

               ปานกลางและน้อย
                       สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่ากระบวนการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง ซึ่งประกอบไปด้วยการจัดเวที

               สร้างความรู้ความเข้าใจ การจัดเวทีเสวนาร่วมกันระหว่างผู้สมัครและผู้มีสิทธิเลือกตั้ง การจัดกิจกรรมรณรงค์ต่างๆ

               สามารถสร้างให้คนในพื้นที่เกิดความตระหนักรู้ในศักยภาพของตนในการสร้างความเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นได้ โดยผล
               การศึกษาพบว่า กระบวนการต่างๆในโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง สามารถสร้างให้กลุ่ม

               ตัวอย่างในพื้นที่รับรู้ถึงการมีพื้นที่ (space) ในการเข้าถึงตัวผู้สมัครได้มากกว่าที่ผ่านมา จากเดิมที่พวกเขาจะมี
               โอกาสได้สัมผัสกับผู้สมัครเพียงไม่กี่วินาทีด้วยการแจกบัตรแนะนำตัวหรือเดินทักทายและไหว้ตามบ้านเพื่อขอ

               คะแนนเสียง ซึ่งไม่ได้มีห้วงเวลาในการชี้แนะหรือให้ข้อเสนอแก่ผู้สมัครเท่าใดนัก แต่ภายใต้กระบวนการจัดเวที

               เสวนาผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้มีโอกาสรับฟังข้อเสนอของผู้สมัครอย่างเป็นทางการ และสามารถมอบข้อสังเกตหรือ
               ข้อเสนอต่างๆที่พวกเขาเป็นห่วงต่อการพัฒนาชุมชนแก่ผู้สมัครอย่างเป็นทางการได้เช่นเดียวกัน กิจกรรมเหล่านี้จึง

               มีส่วนช่วยในการรับรู้ถึงศักยภาพของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการมอบข้อเสนอแนะแก่ผู้สมัครและในการสร้างความ
               เปลี่ยนแปลงแก่ชุมชนเพิ่มมากขึ้น

                       อย่างไรก็ตาม ความเปลี่ยนแปลงด้านความตระหนักรู้นี้ก็สัมพันธ์กับความเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ความ

               เข้าใจของกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ กล่าวคือ แม้กระบวนการส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงจะ
               สามารถสร้างความตระหนักถึงศักยภาพของตนให้แก่กลุ่มตัวอย่างได้ ทว่าความตระหนักรู้จะมากหรือน้อยก็

               สัมพันธ์กับระดับการเปลี่ยนแปลงความรู้ความเข้าใจของกลุ่มตัวอย่างต่อการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขาย

               เสียงและปัจจัยอื่นๆในชุมชนเช่นเรื่องวัฒนธรรมการเลือกผู้แทนโดยเน้นญาติ หรือ เน้นทรัพย์สินเงินทอง มากกว่า
               ที่จะเน้นความสามารถและการบริการประชาชน หรือมองว่าความสมานฉันท์คือการไม่แข่งขันกระทั่งส่งผลให้

               ผู้เกี่ยวข้องในชุมชนต่างลงความเห็นกันว่าจะไม่สนับสนุนการแข่งขันในการเลือกผู้แทน เป็นต้น
                       ผลการศึกษาพบว่าพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จในการสร้างความเปลี่ยนแปลงภายหลังดำเนินโครงการใน

               ระดับ ‘มาก’ ผู้คนจะมีทัศนคติที่ดีต่อโครงการนี้มากกว่าพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จในระดับที่ลดหลั่นลงไป

               อย่างไรก็ตาม กลุ่มคนที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงส่วนใหญ่มักเป็น
               กลุ่มผู้นำและผู้ที่ลงสมัครรับเลือกตั้ง ในส่วนของผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่พบว่ายังมีลักษณ์แบ่งรับแบ่งสู้ ยังมี

               แนวโน้มถึงความไม่ใส่ใจ ไม่เข้าใจความสำคัญของโครงการอย่างแท้จริง สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่ากระบวนการส่งเสริม
               และสร้างการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงที่ผ่านมายังไม่เพียงพอต่อการสร้างความตระหนักได้

               จำเป็นต้องทบทวนกระบวนการและกลไกในการดำเนินกระบวนการอีกครั้ง

                       ในที่นี้ผู้วิจัยพบว่ามีกลไกที่สำคัญอย่างน้อย 2 ประการ คือ กระบวนการด้านความรู้และการถ่ายทอด
               ความรู้ กับกลไกด้านวัฒนธรรมและผลประโยชน์








                                                                                                          118
   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137