Page 137 - b29420_Fulltext
P. 137

ภายหลังการเลือกตั้งได้ อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการจะเกิดความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

               ซึ่งสะท้อนว่าภายใต้กระบวนการต่างๆของโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงยังมีเงื่อนไขปัจจัย
               ต่างๆในฐานะตัวแปรที่จะส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงให้แตกต่างกันออกไป ซึ่งจะกล่าวถึงรายละเอียดในส่วนต่อไป


               2. ปัจจัยที่ส่งเสริมหรือขัดขวางต่อความสำเร็จและความต่อเนื่องของการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิ

               ขายเสียงในพื้นที่

                       จากผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงสามารถสร้างความ

               เปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการในด้านความรู้ความเข้าใจ การสร้างความตระหนักในศักยภาพ

               ของตนที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงสู่ชุมชน และสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อบรรยากาศการเลือกตั้งให้มี

               ความรุนแรงในการแข่งขันลดลง การแจกเงินเพื่อแลกกับคะแนนเสียงลดลง ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีเวทีที่จะสามารถเข้า

               ไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆในกระบวนการเลือกตั้งได้มากกว่าที่ผ่านมา เกิดผู้สมัครหน้าใหม่เพิ่มมากขึ้น ผู้สมัคร
               ยอมรับผลการเลือกตั้ง สามารถทำงานร่วมกันได้ ไม่เกิดการคุกคามข่มขู่ระหว่างและหลังการเลือกตั้ง


                       อย่างไรก็ตาม ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่ที่ดำเนินโครงการ พื้นที่ที่

               ประสบความสำเร็จระดับ ‘มาก’ พบว่าจะมีความเปลี่ยนแปลงมากกว่าพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จระดับปานกลาง

               และน้อย ซึ่งนั่นหมายถึงภายใต้กระบวนการต่างๆของโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงแม้จะ

               สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยบริสุทธิ์ยุติธรรมมีการซื้อสิทธิขายเสียงที่ลดลงและมีความ

               สมานฉันท์ที่เพิ่มมากขึ้นภายหลังการเลือกตั้งได้ ทว่าระดับความสำเร็จยังขึ้นอยู่กับเงื่อนไขปัจจัยหลายประการที่จะ
               ส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระดับที่แตกต่างกันออกไป


                       งานวิจัยชิ้นนี้เข้าไปสำรวจเงื่อนไขปัจจัยหลักๆ 3 ด้าน คือ 1) ด้านแกนนำและผู้เกี่ยวข้อง (actors) 2) ด้าน

               กระบวนการส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง (process) และ 3) ด้านวัฒนธรรมและ

               ผลประโยชน์ (interest & culture) พบว่าทั้ง 3 ปัจจัยมีผลต่อระดับความสำเร็จในการสร้างความเปลี่ยนแปลง

               ภายหลังการดำเนินโครงการ โดยปัจจัยทั้ง 3 ประการ มีรายละเอียดตัวแปรที่ส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงดังต่อไปนี้

                       เงื่อนไขด้านแกนนำและผู้เกี่ยวข้อง (actors) ประกอบด้วยปัจจัยด้านแกนนำที่ดำเนินโครงการ ผู้นำ

               ชุมชน ผู้สมัคร และผู้มีสิทธิเลือกตั้ง


                       เงื่อนไขด้านกระบวนการส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง (process)

               ประกอบด้วย ปัจจัยด้านความรู้ความเข้าใจโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง การเข้าร่วม

               กิจกรรมเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง การรณรงค์โครงการผ่านช่องทางต่างๆอาทิ เสียงตามสาย





                                                                                                          123
   132   133   134   135   136   137   138   139   140   141   142