Page 128 - b29420_Fulltext
P. 128
100 ขณะที่ พื้นที่ข้างเคียงที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการมีค่าเฉลี่ยความรู้ของกลุ่มตัวอย่างที่ได้คะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ
70 โดยรวมอยู่ที่ร้อยละ 7 เท่านั้น โดยพื้นที่ที่ได้คะแนนความรู้ผ่านเกณฑ์สูงที่สุดอยู่ที่ร้อยละ 20
จากเกณฑ์การประเมินความสำเร็จในระดับพื้นที่ที่ผู้วิจัยกำหนดไว้ 3 ระดับคือ ผลการศึกษาพบว่าพื้นที่ที่
ประสบความสำเร็จระดับ มาก ปานกลาง และ น้อย ซึ่งจะพิจารณาจากความเปลี่ยนแปลง 4 เรื่อง ประกอบด้วย
สัดส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง ความตระหนักใน
ศักยภาพซึ่งสะท้อนผ่านจำนวนผู้สมัครหน้าใหม่ที่เพิ่มมากขึ้น และบรรยากาศการเลือกตั้งที่เปลี่ยนแปลงมีการรับรู้
เรื่องการซื้อเสียงลดลง และมีการหาเสียงที่สร้างสรรค์อันนำมาสู่ความสมานฉันท์ภายหลังการเลือกตั้ง โดย
ความสำเร็จแต่ละระดับมีสัดส่วนที่แตกต่างกันในรายละเอียดดังนี้
พื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงระดับมาก ในที่นี้คือพื้นที่ที่มีความเปลี่ยนแปลง ดังต่อไปนี้
• ร้อยละ 50 ของกลุ่มตัวอย่างผู้มีสิทธิเลือกตั้งในชุมชน มีคะแนนความรู้ผ่านเกณฑ์
• กลุ่มตัวอย่างรับรู้ถึงการหาเสียงว่าโจมตีกันลดลง มีความสมานฉันท์ภายหลังการเลือกตั้ง
• กลุ่มตัวอย่างรับรู้ถึงระดับการซื้อเสียงที่ลดลง
• มีผู้สมัครหน้าใหม่เพิ่มขึ้น
พื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงระดับปานกลาง ในที่นี้คือพื้นที่ที่มีความเปลี่ยนแปลง ดังต่อไปนี้
• ร้อยละ 30 ของกลุ่มตัวอย่างผู้มีสิทธิเลือกตั้งในชุมชน มีคะแนนความรู้ผ่านเกณฑ์
• กลุ่มตัวอย่างรับรู้ถึงการหาเสียงว่าโจมตีกันลดลง มีความสมานฉันท์ภายหลังการเลือกตั้ง
• กลุ่มตัวอย่างรับรู้ถึงระดับการซื้อเสียงที่ลดลง
พื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงระดับน้อย ในที่นี้คือพื้นที่ที่มีความเปลี่ยนแปลงทั้ง ดังต่อไปนี้
• กลุ่มตัวอย่างผู้มีสิทธิเลือกตั้งในชุมชน น้อยกว่าร้อยละ 30 มีคะแนนความรู้ผ่านเกณฑ์
ผลการศึกษาพบว่าพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จในระดับมาก กลุ่มตัวอย่างจะมีความเปลี่ยนแปลงด้าน
ความรู้และความตระหนักสูง โดยความรู้ความเข้าใจเรื่องการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงจะนำไปสู่
การปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรม ตลอดจนบรรยากาศการเลือกตั้งในด้านบวกของพื้นที่ดังกล่าวในระดับที่สูง
กว่าพื้นที่ที่กลุ่มตัวอย่างมีความเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ระดับปานกลางและน้อยอย่างมีนัยสำคัญ จากเกณฑ์การ
ประเมินสำเร็จที่กำหนดไว้ข้างต้น สรุปได้ว่า การดำเนินโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง ใน จ.
ร้อยเอ็ด ระหว่างปี 2560-2564 มีพื้นที่ที่มีความเปลี่ยนแปลงระดับมาก จำนวน 3 แห่ง มีพื้นที่ที่มีความ
เปลี่ยนแปลงระดับปานกลางจำนวน 2 แห่ง ที่เหลือเป็นพื้นที่ที่มีความเปลี่ยนแปลงในระดับน้อยจำนวน 12 แห่ง
ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นว่า ‘ความรู้’ เกี่ยวกับการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขาย
เสียงเป็นเงื่อนไขตั้งต้นสำคัญที่จะนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงด้านอื่นๆภายใต้การส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และ
114