Page 130 - b29420_Fulltext
P. 130

(practice) โดยแกนนำและผู้นำชุมชน ซึ่งมีส่วนสำคัญที่ทำให้การนำเสนอข้อมูลของโครงการฯสู่ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

               ได้รับการเลือกสรรค์ ไม่ครอบคลุมองค์ความรู้ทฤษฎีทั้งหมด เนื่องจากมุ่งเข็มไปที่ ‘การไม่แข่งขัน’ ตั้งแต่แรก
                       แน่นอนว่าเมื่อแกนนำเริ่มต้นนำเสนอชุดข้อมูลอย่างไม่รอบด้านปัญหาที่เกิดขึ้นาตามมาคือ ‘การยอมรับ’

               จากผลการศึกษาพบว่ามีผู้สมัครบางรายที่มองว่าวิธีการ ‘ยกให้กัน’ เป็นวิธีการที่ล้าสมัยและละเมิดสิทธิตาม

               รัฐธรรมนูญ พวกเขาจึงยืนกรานในสิทธินั้นที่จะลงสมัครรับเลือกตั้ง เมื่อเป็นเช่นนี้แกนนำจึงจำเป็นต้องเปลี่ยน
               กลยุทธไปที่การไม่แจกเงินแทน ซึ่งการกระทำเช่นนี้ในลักษณะหนึ่งคือการยืดหยุ่นในทางปฏิบัติ แต่ในอีกแง่หนึ่งก็

               แสดงให้เห็นหลักทางทฤษฎีที่ไม่มั่นคง ทั้งที่แท้จริงแล้วหลักของการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงอยู่ที่
               การ ‘แข่งขันกันอย่างสร้างสรรค์’ ไม่รุนแรง ไม่ใช่การจำกัดการแข่งขัน เมื่อข้อมูลได้รับการถ่ายทอดออกไปเช่นนี้

               จึงนำไปสู่ความเข้าใจผิดและไม่รอบด้านต่อโครงการฯของผู้คนในวงกว้าง เมื่อความเข้าใจต่อการเลือกตั้ง

               สมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงเป็นไปโดยผิวเผิน ไม่ลึกซึ้ง ผลกระทบที่ตามมาคือการไม่เห็นถึงความสำคัญ
               จำเป็นของการมีโครงการดังกล่าว เพราะมองว่าบทบาทสำคัญไม่ได้อยู่ที่ตัวผู้มีสิทธิเลือกตั้งแต่อยู่ที่ผู้สมัครว่าจะลง

               แข่งขันกันหรือไม่มากกว่า หรือไม่ก็จำกัดอยู่ที่ ‘ผู้เฒ่า’ หรือคณะกรรมการหมู่บ้านจะมีความเห็นชอบว่าจะเลือก
               ใครมาเป็นผู้นำคนต่อไป สุดท้ายประชาชนจึงถูกผลักออกจากสมการการมีส่วนร่วมไม่ต่างจากการเลือกตั้งแบบเดิม

                       อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องให้ความเป็นธรรมเกี่ยวกับแนวคิดเรื่อง ‘การยกให้กัน’ ในฐานะการสร้างความ

               สมานฉันท์และลดการซื้อสิทธิขายเสียงในมุมมองของคนในพื้นที่ด้วยเช่นกัน เพราะเมื่อพิจารณาในรายละเอียด
               จะพบได้ว่า การ ‘ยกให้กัน’ ไม่ใช่กระบวนการที่เป็นไปโดย ‘อำเภอใจ’ หรือทำตามพลการ (arbitrary) แต่มี

               ขั้นตอน มีเงื่อนไขและระยะเวลาดำเนินการมาอย่างยาวนาน ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ชี้ให้เห็นว่าผู้ที่ต้องการเข้าสู่

               วงการการเมือง ต้องแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจจริงที่จะทำงานทางด้านสังคมรับใช้ชุมชนมาก่อนหน้านี้อย่างน้อย
               เป็นเวลา 1-2 ปี โดยการเปิดตัวสู่ชุมชน ทำงานจิตอาสา ช่วยเหลืองานชุมชน บางรายอาจมีตำแหน่งเป็นกรรมการ

               หมู่บ้าน เป็นผู้ช่วย หรือเป็น อสม. แต่สิ่งที่สำคัญคือมี ‘ผลงาน’ ให้คนในชุมชนโดยเฉพาะผู้ใหญ่ในชุมชนได้เห็นถึง
               ความตั้งใจและความสามารถ จึงจะมีโอกาสได้รับการพิจารณาและได้รับมอบโอกาสจากคนในชุมชนให้ขึ้นดำรง

               ตำแหน่งเป็นผู้นำชุมชนคนต่อไป

                       ดังนั้น คำว่า ‘ยกให้’ โดยรายละเอียดแล้วมีการ ‘แข่งขัน’ และมีการ ‘คัดเลือก’ อยู่ในที ไม่ได้หมายความ
               ว่าปราศจากการแข่งขัน เพียงแต่การแข่งขันนั้นจะเกิดขึ้นก่อนหน้าวันเลือกตั้ง เป็นลักษณะของการสะสมความดี

               และผลงานมาเป็นระยะ ซึ่งในแง่นี้ก็มีลักษณะที่สอดคล้องกับมติของมหาชนอยู่ในทีเช่นกัน แต่ไม่เป็นทางการ
               เพราะหากพื้นที่นั้นใช้วิธีการเจรจานอกรอบจากเวทีประชาคมหมู่บ้าน นำโดยผู้เฒ่าหรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับการ

               ยอมรับในหมู่บ้าน คนผู้นั้นก็จำเป็นต้องได้รับการยอมรับหรือมีแนวโน้มที่ผู้คนส่วนใหญ่ในชุมชนจะไม่ปฏิเสธคุณ

               ความดีของเขาด้วย แต่ในบางกรณีอาจใช้การประชุมกรรมการหมู่บ้านหารือเจรจากันเพื่อหาทางออกต่อการ
               เลือกตั้งที่อาจจะนำไปสู่ความขัดแย้งในชุมชนซึ่งก็จะเป็นกึ่งทางการมากขึ้น เพราะฉะนั้น คำว่า ‘ยกให้กัน’ จึงเป็น

               กระบวนการของคนในชุมชนที่ปฏิบัติมานานแล้วและมีส่วนที่สอดคล้องกับการแข่งขันตามหลักการเลือกตั้งใน





                                                                                                          116
   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135